กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4662
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านซอฟต์สกิล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Potential development of the workforce on soft skills |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุขมิตร กอมณี |
คำสำคัญ: | การพัฒนากำลังคน กำลังคน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาซอฟต์สกิลในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2) จัดเรียงลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็น 3) พัฒนาหลักสูตรพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านซอฟต์สกิล 4) ประเมินและรับรองหลักสูตร และ 5) ใช้หลักสูตรพัฒนาศักยภาพด้านซอฟต์สกิล โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มกำลังแรงงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 400 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ประกอบการ จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็น และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร แหล่งข้อมูลคือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมร่างหลักสูตร แบบบันทึกผลการสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 การใช้หลักสูตร กลุ่มตัวอย่าง คือ กำลังแรงงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกจำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้หลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านซอฟต์สกิล ทักษะการสื่อสาร แบบประเมินทักษะการสื่อสาร และแบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยความต้องการจำเป็นสภาพที่เป็นจริงปัจจุบันต่ำกว่าสภาพที่คาดหวังต้องการพัฒนาทุกรายการ และมีดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการจำเป็น (PNIModified)อยู่ระหว่างร้อยละ10.5 ถึงร้อยละ 43.3 2) ทักษะการสื่อสาร (PNIModified=0.433) มีความต้องการจำเป็นลำดับที่1 รองลงมา คือ ทักษะการถามและฟัง (PNIModified=0.362) ทักษะการเล่าเรื่อง (PNIModified=0.375) ส่วนความตระหนักทางวัฒนธรรม (PNIModified=0.105) ซอฟต์สกิล มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด 3) หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านซอฟต์สกิล (Soft Skills) มีองค์ประกอบคือ (1) ชื่อหลักสูตร (2) ปัญหาและความต้องการ (3) หลักการ (4) เป้าหมาย (5) วัตถุประสงค์ (6) เนื้อหาสาระ (7) กระบวนการ (8) กิจกรรม (9) สื่อและแหล่งเรียนรู้ (10) การวัดและประเมินผล 4) การประเมินและรับรองหลักสูตรหลังจากทดลองใช้แล้ว โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย =4.55) (S.D.=.37) 5) หลังการใช้หลักสูตร (1) คะแนนทักษะการสื่อสารหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) คะแนนทักษะการสื่อสารจากการประเมินตนเองก่อนการฝึกอบรมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย =1.88) และหลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย =2.67) (3) คะแนนทักษะการสื่อสารจากเพื่อนประเมินก่อนฝึกอบรมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย =2.10), (S.D.=.82) และหลังฝึกอบรมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย =2.45), (S.D.=.78) (4) คะแนนทักษะการสื่อสารจากการประเมินของวิทยากร/กระบวนกร หลังจากการฝึกอบรมโดยรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย =2.39) เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (5) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย =4.12), (S.D.=.88) |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4662 |
ISSN: | 0125-3212 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
edu33n1p117-145.pdf | 379.8 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น