กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4660
ชื่อเรื่อง: | โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A causal model of factors affecting schools effectiveness in secondary schools based on strategies of educational development plan in Eastern Economic Corridor |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อัชฌวุฒิ เปลี่ยนสมัย ภัคณัฏฐ์ จันทนวรานนท์ สมพงษ์ธรรม สถาพร พฤฑฒิกุล |
คำสำคัญ: | โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร การพัฒนาการศึกษา ประสิทธิผลองค์การ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารการศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ของโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 400 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบ และส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (SEM) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปร ทั้ง 6 ตัวแปร มีค่าน้ำหนักแต่ละองค์ประกอบ (factors loading) สูงกว่า .50, มีค่าความเชื่อมั่นของแต่ละองค์ประกอบ อยู่ระหว่าง .57 - .72 และผลการวิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (goodness of fit) กลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนี้ Relative Chi-square = 1.55 , CFI = .98, NFI = .97, GFI = .93, AGFI = .91 และ RMSEA = .03 และมีค่าสัมประสิทธิ์เชิงการพยากรณ์ คิดเป็นร้อยละ 54 ( R2= .54 ) โดยมีค่าอิทธิพลของแต่ละปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ปัจจัยด้านนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ปัจจัยด้านบริบทของชุมชน ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริหารโรงเรียนและปัจจัยด้านครูและการจัดการเรียนการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตามลำดับ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4660 |
ISSN: | 2697-3863 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
ejes4n2p19-36.pdf | 532.81 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น