กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4650
ชื่อเรื่อง: การศึกษาผลการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of learning management on inclusive education program for students with special needs of elementary level in Piboonbumpen Demonstration School, Burapha University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุเมธ งามกนก
วิโรฒน์ ชมภู
คำสำคัญ: โรงเรียนสาธิต
การบริหารการศึกษา
การเรียนร่วมของเด็กพิเศษ
การศึกษาแบบเรียนร่วม
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและวิธีแก้ปัญหาของการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม สำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้บริหาร อาจารย์ภาคปกติฝ่ายประถมศึกษา อาจารย์การศึกษาพิเศษ และผู้ปกครองของนักเรียนในโปรแกรมการศึกษาพิเศษ จำนวน 63 คน เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินโครงการอบรมฯ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์และการสังเกต และ 2) นักเรียนในโปรแกรมการศึกษาแบบเรียนร่วม จำนวน 9 คน ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตการณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) แบบสอบถาม 3) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม 4) การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และ 5) เอกสารประกอบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า ผู้บริหาร อาจารย์ภาคปกติฝ่ายประถมศึกษา อาจารย์การศึกษาพิเศษ และผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมอยู่ในระดับมาก มีการลงมือปฏิบัติงานตามแผนร่วมกันอยู่ในเกณฑ์ดี นักเรียนในโปรแกรมการศึกษาแบบเรียนร่วม มีพัฒนาการในด้านต่างๆ ดีขึ้น และผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน ส่วนใหญ่มีการพัฒนาอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ การรับนักเรียนและการคัดกรอง การคัดห้องเรียนและจัดชั้นเรียน การจัดแผนการศึกษา ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ การจัดสื่อสิ่งอำนวยความสะดวกส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การประสานงานและความร่วมมือภายในโรงเรียน การจัดสภาพบรรยากาศภายในห้องเรียนการศึกษาพิเศษ ห้องเรียนปกติ สภาพแวดล้อมนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้และความปลอดภัย การสื่อสารกับผู้ปกครองการจัดประชุม จัดอบรมส่งเสริมความรู้ให้กับผู้ปกครอง ส่วนด้านที่ยังมีผลการพัฒนาอยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุง ได้แก่ ด้านการวัดและการประเมิน การเปิดรับบุคลากร งบประมาณสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร การจัดสื่อเทคโนโลยีอุปกรณ์ และเครื่องมือที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน 2. ปัญหา และอุปสรรคของการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ประเด็นสำคัญ ได้แก่ การศึกษาและทำความเข้าใจพฤติกรรมในแต่ละรายบุคคลของนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษมีความซับซ้อน มีอารมณ์ที่ละเอียดอ่อน ดังนั้นการให้ความช่วยเหลือตามแผนการปรับพฤติกรรมสำหรับนักเรียนบางคนได้ใช้เวลามากกว่าที่กำหนดตามแผน การปฏิบัติให้บรรลุตามแผนนั้นไม่สามารถสำเร็จภายในหนึ่งภาคการศึกษาได้ การจัดส่งเสริมกิจกรรมความสามารถพิเศษรายบุคคลมีเวลาค่อนข้างน้อย การขาดแคลนบุคลากร งบประมาณสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร การจัดสื่อเทคโนโลยีอุปกรณ์ และเครื่องมือที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนยังไม่เพียงพอ การแก้ไขปัญหา ได้แก่ การร่วมมือกันของทุกฝ่าย คือ ผู้บริหาร ครูการศึกษาพิเศษ ครูผู้สอนปกติ และผู้ปกครอง มีการทำงานเป็นทีม การปฏิบัติตามแผนให้การช่วยเหลือในแนวทางเดียวกัน และการจัดงบประมาณสนับสนุนการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม สำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4650
ISSN: 1906-9308
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
hrd13n1p29-52.pdf1.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น