กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4640
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมจากภาครัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีนในการสนับสนุนนักธุรกิจจีนลงทุนค้าขายในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A model of chinese government promotion towards business investment of chinese investors in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาณติมา พงษ์นัยรัตน์
บรรพต วิรุณราช
คำสำคัญ: การลงทุนของจีน -- ไทย
การส่งเสริมการลงทุน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง “แนวทางการส่งเสริมจากภาครัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีนในการสนับสนุน นักธุรกิจจีนลงทุนค้าขายในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมจากภาครัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีนในแง่มุมต่าง ๆ ที่สนับสนุนนักธุรกิจจีนในการลงทุนค้าขายในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อนำรูปแบบหรือแนวทางการส่งเสริมนำเสนอแก่หน่วยงานภาครัฐของไทยโดยทำการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative research and Quantitative research) ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเชิงผสม (Mixed methods research) โดยดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพก่อน ผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) จำนวน 23 คน จากนั้นจึงทำการวิจัยเชิงปริมาณตามกรอบ PESTLE Model โดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักธุรกิจจีนในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก จำนวน 400 ชุด หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS โดยเป็นการวิเคราะห์การใช้สถิติการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ซึ่งได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อเป็นการยืนยันผลจากข้อมูลเชิงลึก ทำให้ทราบแนวทางในการส่งเสริมที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า 1) ประเด็นด้านนโยบาย มีความชัดเจน จากการที่มีการเมืองเข้มแข็งถือเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิดการดำเนินนโยบายได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายให้เห็นเป็นรูปธรรม นอกจากนี้รัฐบาลสนับสนุนให้มีโครงการ สำคัญ ๆ เพื่อรองรับนโยบาย เช่น โครงการ One Belt One Road ที่เน้นด้านโครงสร้างพื้นฐาน จากนั้นจึงใช้วิธีการจดสิทธิบัตรสินค้าเพื่อทำให้เกิดอำนาจในการต่อรอง 2) ประเด็นด้านแรงจูงใจและการอำนวย ความสะดวก รัฐบาลมีการสนับสนุนด้านเงินทุนในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดเสวนาเพื่อจับคู่ค้าทางธุรกิจ การจัดตั้งธนาคารรวมถึงจัดทำคู่มือข้อควรรู้ประเทศต่าง ๆ 3) ประเด็นด้านการลงทุนระหว่างประเทศ รัฐบาลจีนได้เข้าร่วมองค์กรสำคัญ ๆ ทั่วโลก เช่น WTO รวมถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน 4) ประเด็นด้านบริบทของประเทศ มีการปลูกฝังคุณลักษณะเด่นที่เป็นจุดแข็งของสังคมจีนนั่นคือ การสืบทอดแนวคิดและกลยุทธ์สำคัญด้านการค้าขาย นอกจากนี้ยังมีความพยายามสร้างเครือข่าย เพื่อเป็นการรวมตัวช่วยเหลือกันเมื่อยามเกิดปัญหา 5) ประเด็นอื่น ๆ เหตุผลที่นักธุรกิจจีนลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากมีความพร้อมหลายด้าน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความเหมาะสมในพื้นที่ลงทุน รวมถึงความสัมพันธ์อันดี แต่ปัญหาที่พบหลังจากเข้ามาลงทุนคือ ด้านแรงงานไทยที่ขาด ความรับผิดชอบ กฎหมายที่เอื้อประโยชน์กับแรงงาน รวมถึงความล่าช้าของหน่วยงานภาครัฐไทย สำหรับผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่าค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของระดับความคิดเห็นของนักธุรกิจจีนหรือตัวแทน เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมนักธุรกิจจีนลงทุนค้าขายในประเทศไทย อยู่ในระดับสูงทั้งหมดทุกด้าน (ค่าเฉลี่ย = 3.64; SD = .629) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อสามารถเรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุดได้ดังนี้คือ ด้านการเมืองการปกครองและนโยบายภาครัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีนในการสนับสนุนนักธุรกิจจีนลงทุนค้าขายในประเทศไทย (ค่าเฉลี่ย = 3.74; SD = .683) รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อม (ด้านความปลอดภัย ความเหมาะสมในการลงทุนและความเป็นอยู่ในการดำรงชีพ) (ค่าเฉลี่ย = 3.70; SD = .788) ด้านเทคโนโลยี เทคนิคและนวัตกรรม (ค่าเฉลี่ย = 3.64; SD = .864) ด้านสังคมและวัฒนธรรม (ค่าเฉลี่ย = 3.63; SD = .699) ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน (ค่าเฉลี่ย = 3.60; SD = .728) และด้านกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ (ค่าเฉลี่ย = 3.55; SD = .785) ตามลำดับ โดยสรุปผลการวิจัยเชิงปริมาณมีความสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพคือ นักธุรกิจจีนมีความเชื่อมั่นด้านการเมืองการปกครองของรัฐบาลว่ามีความเข้มแข็ง สามารถขับเคลื่อนนโยบายที่กำหนดมาแล้วให้เกิดความต่อเนื่องได้ โดยรัฐบาลมีการวางมาตรการและจัดโครงการต่างๆ มารองรับ เพื่อให้นโยบายด้านเศรษฐกิจประสบความสำเร็จ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4640
ISSN: 1906-506X
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
politic12n3p279-294.pdf580.92 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น