กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4635
ชื่อเรื่อง: | ความรู้ของประชาชนต่อการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออกในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | People knowledge towards purchasing health products in eastern region in Thailand year 2019 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เขมมารี รักษ์ชูชีพ |
คำสำคัญ: | ผลิตภัณฑ์สุขภาพ การซื้อสินค้า พฤติกรรมผู้บริโภค |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ของประชาชนต่อการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออกในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 2) เพื่อศึกษาการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออก ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 3) เพื่อศึกษาความรู้ของประชาชนที่มีอิทธิพลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออกในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 และ 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออกในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นประชาชนผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือประชาชนผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาคตะวันออกจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และการวิเคราะห์การถดถอยพหุและสหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิง มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด มีอาชีพนักศึกษา จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน โดยรวมความรู้ของประชาชนต่อการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับคะแนนจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการนำไปปรับใช้ ด้านความรู้ ด้านการประเมินผล ด้านการวิเคราะห์ ด้านความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด และด้านการสังเคราะห์โดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีระดับการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพด้านการเรียนรู้ ด้านทัศนคติ ด้านบุคลิกภาพและด้านวัฒนธรรม ด้านการรับรู้ ด้านชนชั้นทางสังคม ด้านกลุ่มอ้างอิง ด้านการจูงใจ และด้านบทบาททางสังคม ความรู้ของประชาชนที่ส่งผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยรวม เรียงตามลำดับจากมีอิทธิพลมากไปหาน้อย ได้แก่ ความรู้ด้านการวิเคราะห์ ความรู้ด้านการสังเคราะห์ และความรู้ด้านการประเมินผล โดยความรู้ของประชาชนทั้ง 3 ด้านรวมกันสามารถทำนายการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยรวมได้ร้อยละ 14.90 การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้านอิทธิพลของปัจจัยความรู้ของประชาชน: ได้รับความรู้จากสื่อต่างๆ มีความคิดทางบวกในการวิเคราะห์ผลดีและผลเสียโดยดูจากผลลัพธ์ แต่บางคนมีความรู้ต่อผลิตภัณฑ์สุขภาพค่อนข้างน้อย การหาความรู้เพิ่มเติม โดยคำนึงถึงเรื่องคุณภาพ ประสิทธิภาพ และที่ขาดไม่ได้คือเรื่องของราคา การบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้นคิดว่า เป็นแค่พวกอาหารเสริมสู้อาหารหลักไม่ได้ ด้านพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ: การเรียนรู้ข้อผิดพลาดและข้อดี หากดีก็จะมีการบริโภคต่อ ส่วนทัศนคติจะมีทิศทางไปในทางบวก เพราะการบริโภคทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมและต้องการมีบุคลิกภาพที่ดี การให้ความสนใจต่อความงามในสมัยนี้เป็นเรื่องธรรมดา หากลองบริโภคแล้วทำให้ดูดีเขาก็พร้อมที่จะบริโภคต่อ ด้านรูปแบบการตัดสินใจ: การตัดสินใจซื้อเน้นไปเรื่องของคุณภาพเป็นอันดับแรก เขาก็ยอมที่จะจ่าย คนยุคนี้ให้ความสนใจกับแฟชั่นมาก แม้จะมีการสิ้นเปลืองก็ตาม |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4635 |
ISSN: | 1906-506X |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
politic13n1p417-434.pdf | 536.9 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น