กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4634
ชื่อเรื่อง: การศึกษาหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อน้อมนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานสำหรับกิจการเพื่อสังคม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The study of the principles of the work of His Majesty King Phra Bat Somdet Phra Boromchanakathibet Maha Bhumibol Adulydej Maharai Borommanatbophit as a guideline for social enterprise
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บัณฑิต เสาวภาภรณ์
ทักษญา สง่าโยธิน
ลลิต ถนอมสิงห์
คำสำคัญ: ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร, พระบาทสมเด็จพระมหา, 2470-2559 -- พระราชกรณียกิจ
ผู้ประกอบการเพื่อสังคม
วิสาหกิจชุมชน
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานสำหรับกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) และส่งผลต่อปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กรในสมดุล 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านสังคม 2. ด้านสิ่งแวดล้อม 3. ด้านเศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อความยั่งยืน โดยการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการเก็บข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชียวชาญกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) วิสาหกิจชุมชน และผู้ที่ใช้หลักทรงงานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร., 2559) ได้รวบรวมไว้จำนวน 23 หลักการ ได้แก่ 1) ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ 2) ระเบิดจากข้างใน 3) แก้ปัญหาที่จุดเล็ก 4) ทำตามลำดับขั้น 5) ภูมิสังคม 6) องค์รวม 7) ไม่ติดตำรา 8) ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด 9) ทำให้ง่าย 10) การมี ส่วนร่วม 11) ประโยชน์ส่วนรวม 12) บริการที่จุดเดียว 13) ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ 14) ใช้อธรรมปราบอธรรม 15) ปลูกป่าในใจคน 16) ขาดทุนคือกำไร 17) การพึ่งตนเอง 18) พออยู่พอกิน 19) เศรษฐกิจพอเพียง 20) ซื่อสัตย์ สุตจริต จริงใจต่อกัน 21) ทำงานอย่างมีความสุข 22) ความเพียร 23) รู้ รัก สามัคคี นำมาใช้ในการดำเนินกิจการ ให้ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน จำนวน 17 ท่าน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานสำหรับกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ประกอบไปด้วย 1. สร้างรายได้ สร้างอาชีพ สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างมั่นคง 2. นำวัตถุดิบ หรือสิ่งที่หาได้จากท้องถิ่น มาเพิ่มมูลค่า 3. วิจัยและพัฒนา 4. การเงิน โปร่งใส ตรวจสอบได้ 5. การปรับตัวตามสถานการณ์พร้อมที่เรียนรู้และแก้ไข 6. ใช้ภูมิปัญญาที่มีอยู่ภายในชุมชน นำมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับสังคม วัฒนธรรม 7. การวางแผน การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ 8. เสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ การเรียนรู้ 9. ยกระดับชุมชน ให้เกิดการกินดี อยู่ดี 10. กำไรที่ได้จาการดำเนินงาน นำกลับไปคืนแก่ชุมชน 11. ความสมดุลเพื่อทำให้เกิดความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ 12. ความสมดุลเพื่อทำให้เกิดความยั่งยืนด้านสังคม 13. ความสมดุลเพื่อทำให้เกิดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4634
ISSN: 1906-506X
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
politic13n1p311-328.pdf656.16 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น