กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4630
ชื่อเรื่อง: | การจัดการความมั่นคงด้านสุขภาวะผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Elderly health security management in Nong Prue municipality, Banglamong district, Chonburi |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ระเบียบ กิจเจริญ อมรทิพย์ อมราภิบาล อนุรัตน์ อนันทนาธร ภัทรพงษ์ รัตนเสวี |
คำสำคัญ: | บริการสาธารณะ สุขภาวะ ผู้สูงอายุ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ 2) ศึกษาการจัดการสุขภาวะผู้สูงอายุ ฯ 3) ศึกษาสุขภาวะผู้สูงอายุ ฯ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการ ฯ กับกับสุขภาวะของผู้สูงอายุ 5) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการจัดการสุขภาวะผู้สูงอายุ ออกแบบวิจัยเชิงผสม ระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิธีเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากตัวอย่างผู้สูงอายุจำนวน 347 คน จากประชากรผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ ส่วนเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างเก็บข้อมูล จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณาและสถิติอ้างอิง ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ F – Test และ Pearson – r ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1) เทศบาลมีการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุโดยให้บริการแบบมีส่วนร่วมผ่านกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 614 คน ซึ่งถือว่าจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด การที่ผู้สูงอายุร่วมกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุจำนวนไม่มากนักสาเหตุเนื่องจากกิจกรรมที่จัดให้ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการ รวมทั้งมีปัจจัยส่วนบุคคลเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการ เช่น สุขภาพร่างกาย ค่าใช้จ่าย และการเดินทาง นอกจากนั้น เทศบาลยังมีการให้บริการให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ผ่านโครงการประจำต่างๆ ซึ่งเป็นบริการแบบไม่มีส่วนร่วม และพบว่าการให้บริการแบบมีส่วนร่วมส่งผลดีต่อสุขภาวะมากกว่าแบบไม่มีส่วนร่วม 2) ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีความเห็นว่าเทศบาลมีการจัดการ ฯ อยู่ในระดับดีมาก อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุเห็นว่าการจัดการยังมีอุปสรรคปัญหาของการเข้าถึงและการใช้บริการอยู่บ้าง 3) ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรม ฯ มีสุขภาวะระดับดี ส่วนผู้สูงอายุที่ไม่เป็นสมาชิกชมรม ฯ มีสุขภาวะระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบพบว่าผู้เป็นสมาชิกชมรมมีสุขภาพดีกว่าผู้ไม่เป็นสมาชิกชมรม ฯ อย่างมีนัยสำคัญ 4) การจัดการ ฯ สัมพันธ์กับสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างสูงในทิศทางบวก 5) งานวิจัยมีข้อเสนอแนะต่อเทศบาลว่าควร a) ให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นวางแผนซึ่งจะทำให้ได้กิจกรรมตรงความต้องการผู้ใช้บริการเพื่อจะได้จูงใจให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรม ฯ มากขึ้น b) มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง c) เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอ d) นำสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยมาให้บริการ โดยมีการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดี และ e) การอำนายความสะดวกในด้านการเดินทางของผู้สูงอายุ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4630 |
ISSN: | 1906-506X |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
politic13n1p97-116.pdf | 786.49 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น