กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4625
ชื่อเรื่อง: การศึกษาอันตรกิริยาและการจับตัวกันระหว่างทูบูลินเฮเทอโรไดเมอร์กับอนุพันธ์โพโดฟิลโลทอกซิน และทำนายสมบัติทางฟิสิโคเคมิคัลโดยอาศัยระเบียบวิธีทางคอมพิวเตอร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: In silico study of the interaction and binding of Tubulin Heterodimer with the modified Podophyllotoxin derivatives and physicochemical prediction
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุชญา ผ่องใส
ดวงธิดา พันธุ์เมฆา
คำสำคัญ: อนุพันธ์โพโดฟิลโลทอกซิน
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีน
ทูบูลินเฮเทอโรไดเมอร์
โมเลกุลาร์ด็อกกิ้ง
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาอันตรกิริยาและการจับตัวกันระหว่างโปรตีนเป้าหมายกับอนุพันธ์ของยาต้านมะเร็ง นั่นคือ ทูบูลินเฮเทอโรไดเมอร์กับอนุพันธ์โพโดฟิลโลทอกซินชนิดใหม่ (80 ลิแกนด์) ที่ถูกปรับเปลี่ยนหมู่แทนที่ที่ตำแหน่ง R1 และ R2 โดยอาศัยระเบียบวิธีการจำลองโมเลกุลและโมเลกุลาร์ด็อกกิ้ง รวมทั้งการทำนายสมบัติทางฟิสิโคเคมิคัลและ ADMET สำหรับอนุพันธ์โพโดฟิลโลทอกซินชนิดใหม่ที่มีสมบัติความเป็นยาที่ดีมีความเสถียรในการจับตัวกับโปรตีนเป้าหมายสูงขึ้น และมีความเป็นพิษต่อตับต่ำมากอย่างมีนัยสำคัญเปรียบเทียบกับยาโพโดฟิลโลทอกซิน ผลการศึกษาวิจัยสามารถคัดเลือกอนุพันธ์ โพโดฟิลโลทอกซินชนิดใหม่จำนวน 9 ลิแกนด์ (ค่า E-binding และ Tox_P) นั่นคือ N11R2 (-7.64 kcal/mol และ 1.1) N20R2 (-7.59 kcal/mol และ -0.7) N26R2 (-7.48 kcal/mol และ 4.4) N25R2 (-7.44 kcal/mol และ 4.1) N13R2 (-7.43 kcal/mol และ 2.8) N17R2 ( -7.07 kcal/mol และ 4.4) N16R1 (-7.04 kcal/mol และ 3.2) N9R2 (-7.04 kcal/mol และ 3.9) และ N40R2 (-7.01 kcal/mol และ 3.6) ตามลำดับ อนุพันธ์โพโดฟิลโลทอกซินชนิดใหม่นี้มีความเจาะจงต่อโปรตีนเป้าหมาย มีความเสถียรในการจับตัวกับโปรตีนเป้าหมายสูงขึ้น (E-binding  -7.00 kcal/mol) มีสมบัติความเป็นยาที่ดี และมีความเป็นพิษต่อตับต่ำมาก (-0.7  Tox_P  4.4) อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับยาโพโดฟิลโลทอกซิน นอกจากนี้ยังพบว่าอนุพันธ์ โพโดฟิลโลทอกซิน 9 ลิแกนด์ที่ดีที่สุด มีแนวโน้มเกิดอันตรกิริยาและการจับตัวที่เสถียรในบริเวณ -ทูบูลิน ภายในโพรงของตำแหน่งเข้าจับ จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าอนุพันธ์โพโดฟิลโลทอกซินเหล่านี้น่าจะมีฤทธิ์ในการยับยั้งกระบวนการพอลิเมอไรเซชันของไมโครทูบูลได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4625
ISSN: 2351-0781
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
sci27n1p85-100.pdf1.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น