กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4615
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุภาพร ชาวสวน-
dc.contributor.authorไพฑูรย์ โพธิสว่าง-
dc.date.accessioned2022-08-07T02:16:12Z-
dc.date.available2022-08-07T02:16:12Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.issn1906-506X-
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4615-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการตามนโยบายการศึกษาสำหรับเด็กไร้สัญชาติ เพื่อศึกษาปัญหาและข้อจำกัด ในการนำนโยบายการศึกษาไปปฏิบัติ และเพื่อเสนอแนวทางการจัดศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กไร้สัญชาติในประเทศไทย ซึ่งรูปแบบในการวิจัยครั้งนี้เป็นระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การได้มาซึ่งข้อมูลที่สำคัญคือการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกโดยมีผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารจากสำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ภาคตะวันออก จากผู้อำนวยการและครูในสถานศึกษา ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 8 ราย ผลการวิจัยพบว่าการนำเสนอผลการศึกษาในส่วนนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอออกเป็น 2 ใหญ่ๆ ดังนี้คือ โครงสร้างการจัดการศึกษาเด็กไร้สัญชาติในประเทศไทย การจัดโครงสร้างการจัดการศึกษาเด็กไร้สัญชาติของประเทศไทย เป็นโครงสร้างระบบราชการ การบริหารแบบ Top down การสั่งการเป็นแนวดิ่งเน้นการรวมศูนย์ที่ส่วนกลาง มีลำดับชั้นบังคับบัญชามาก มีความเป็นทางการสูง การปฏิบัติงานถูกกำหนดโดยมีระเบียบเป็นตัวกำกับโดยมิได้ศึกษาความพร้อมของพื้นที่ นโยบายขาดความชัดเจน มีปัญหาในทางปฏิบัติและทำให้เกิดความล่าช้าและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยโดยมติรัฐมนตรี ที่ได้ออกมาเป็นเวลานานแล้ว ควรต้องมีการแก้ไข และปรับปรุงให้ทันยุคสมัย โดยอ้างอิงจากข้อมูลจริง สถานที่จริงและความต้องการของครูและเด็กนักเรียนไร้สัญชาติในพื้นที่ต่างๆ อย่างทันเวลาและทันสมัย จากผลการวิจัย ได้เสนอแนวทางทางการจัดศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กไร้สัญชาติในประเทศไทย ดังนี้ รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กไร้สัญชาติ ควรจัดแบบผสมผสาน ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อเป็นการสร้างโอกาสและทางเลือกทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียน และตอบสนองความต้องการของผู้เรียน เนื้อหานโยบายหลักสูตรไม่สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เน้นคุณลักษณะและเจตคติมากกว่าทักษะสากลที่จำเป็น หลักสูตรมีลักษณะอนุรักษนิยมสูงให้ความสำคัญกับพื้นฐานความเป็นไทย โดยมีลักษณะเด่นที่การมุ่งเน้นคุณธรรมจริยธรรม ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์และเศรษฐกิจพอเพียง ขณะที่การนำนโยบายหลักสูตรสู่การปฏิบัติยังคงเป็นแบบทฤษฎีบนลงล่างสอดคล้องกับการบริหารราชการแบบรวมศูนย์อำนาจค่อนข้างมาก อำนาจการตัดสินใจด้านการบริหารบุคคลอยู่ในระดับเขตพื้นที่ นอกจากนี้ การที่หลักสูตรมีหลายกลุ่มสาระขณะที่ครูมีภาระงานอื่นนอกเหนืองานสอนในปริมาณมากนับเป็นอุปสรรคสำคัญทำให้ครูไม่ได้มีเวลาอยู่กับผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนยังคงเน้นการบรรยายบอกเล่าท่องจำและครูยังคงมีบทบาทสำคัญเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้มากกว่าที่จะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในแบบการสร้างความรู้ด้วยตนเองth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการบริหารการศึกษาth_TH
dc.subjectการศึกษาth_TH
dc.subjectเด็ก -- การศึกษาth_TH
dc.subjectคนไร้สัญชาติth_TH
dc.titleการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการจัดการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeAnalysis of problems and obstacles in education management of stateless children in Thailandth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.issue2th_TH
dc.volume13th_TH
dc.year2564th_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the implementation of educational policy for stateless children. To study the problems and limitations in the implementation of educational policies and to propose an appropriate education approach for stateless children in Chonburi in which this model is a qualitative research methodology Giving important information is research, documents and in-depth interviews, with key informants including senior executives from the Ministry of Education. Executives from the Office of the Basic Education Commission (OBEC) Eastern Region from the director and teachers in the educational institution. In Chonburi, a total of 8 people. The research found that the presentation of the study in this section, the researcher has presented 2 major as follows: the structure of the education management for stateless children in Thailand The structure of the education management for stateless children in Thailand It is the structure of the bureaucratic system, top down management, vertical order, centering on centralization. There are many hierarchies. Highly formal The operation is determined by regulations. Without studying the readiness of the area Policy lacking clarity There are problems in practice and cause delays and the Constitution of the Kingdom of Thailand by the resolution of the Minister. That has been out for a long time Should have to be fixed and improved to keep up with the times by referring to the actual data Real locations and needs of stateless teachers and students in various areas. Timely and modern Based on the findings Presented the educational guidelines suitable for stateless children in Chonburi as follows: Educational management model for stateless children Should be mixed Both systematic education Non-formal and informal education In order to create opportunities and educational options for students And meet the needs of students Course policy content is not consistent with essential skills in the 21st century, emphasizing characteristics and attitudes more than necessary international skills. The course is highly conservative, with a focus on the foundation of being Thai. With outstanding features focusing on morality, ethics, patriotism, monarchy, and sufficiency economy While the implementation of the curriculum policy in practice is still a top-down theory, it is quite consistent with centralized government administration. Personnel decision-making power is at the district level. In addition, the curriculum has many groups, while the teacher has a lot of work other than teaching, which is a major obstacle to the teacher does not have time to learn. Teaching and learning management still emphasizes lecture, recite and memorize, and teachers still play an important role as a learning center rather than student-centered and allow learners to learn in self-knowledge generation.th_TH
dc.journalวารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมายth_TH
dc.page1-18.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
politic13n2p1-18.pdf740.26 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น