กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4612
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของกำลังพลสังกัดกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 111 ตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factor affecting to quality of life of Military Officials in the 2nd Battalion of Infantry Regiment 111 in Taboonmee sub-district, Khochan district, Chon Buri Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รณรงค์ เส็งมี ธีระพงษ์ ภูริปาณิก |
คำสำคัญ: | คุณภาพชีวิต คุณภาพชีวิตการทำงาน ทหารราบ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครังนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิต และปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของกำลังพลสังกัดกองพัน ทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 111 ตำบลท่าบุญมีอำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กำลังพลในกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 111 ตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี จำนวน 217 นาย ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ (Yamane, 1973) โดยการสุ่มตัวอย่างใช้ววิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ค่าสัมประสิทธ์ิอลัฟา (.974) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสถิติที่ใช้ได้แก่ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)การทดสอบสมมติฐานใช้การทดสอบค่าที (t-test) และใช้ค่าสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) กำลังพลสังกัดกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 111 มีคุณภาพชีวิต โดยรวมอบู่ในระดับมาก ( = 3.53, S.D. = 0.75) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบวา่ ด้านอุดมการณ์คุณธรรมและด้านจริยธรรม อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านสวัสดิการ ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านที่พักอาศัยด้านเครื่องแต่งกาย เครื่องนอนของใช้ประจำตัว และด้านอาหารและโภชนาการ อยู่ในระดับมาก และมีรายด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในนระดับปานกลาง คือ ด้านความก้าวหน้าด้านสังคมสัมพันธ์และด้านผลตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ 2) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า กำลังพลที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านงานในภาพรวม ด้านการสนับสนุนทางสังคมจากหัวหน้า ด้านการสนับสนุนจากองค์กรและดา้นความสัมพนัธ์ในหน่วยงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของกำลังพล (r= .530, r= .780., r= .698 p< .0.01 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) แนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพลสังกัดกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 111 ตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี นั้น ควรมุ่งเน้นการพัฒนา ด้านผลตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ เป็นสำคัญโดยเน้นหลกัการการลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้เพื่อให้กำลังพลลดค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตในการเพิ่มรายได้ หน่วยงานควรมีการฝึกอบรมส่งเสริมให้กำลังพลสามารถสร้างอาชีพเสริมได้และด้านสังคมสัมพันธ์ควรมุ่งเน้นการสานสัมพันธ์ที่ดีภายในหน่วยงานโดยการสร้างกิจกรรมนันทนาการ นอกจากนั้นผู้บังคับบัญชาในแต่ละหน่วยงานควรให้ความเป็นกันเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา มีการรับฟังความคิดเห็น การให้คำปรึกษาปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตให้เป็นความสัมพันธ์แบบพี่น้อง |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4612 |
ISSN: | 1906-506X |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
politic13n3p209-223.pdf | 635.68 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น