กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/46
ชื่อเรื่อง: การจัดทำแผนที่วิจัยระบบสุขภาพและการพัฒนาการเกษตรในภาคตะวันออก
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ เนตรสาริกา
รุ่งอรุณ ชะนวน
มหาวิทยาลัยบูรพา. ศูนย์จัดการงานวิจัยระบบสุขภาพภาคตะวันออก(ศวรส.อ).
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
สุขภาพ - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย
สุขภาพ - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - แง่ยุทธศาสตร์ - - วิจัย
เกษตรกรรม - - แง่สิ่งแวดล้อม
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: ศูนย์จัดการงานวิจัยระบบสุขภาพภาคตะวันออก (ศวรส. มหาวิทยาลัยบูรพา.
บทคัดย่อ: ระบบสุขภาพกับการเกษตร ภาคตะวันออก: ภาคตะวันออกเป็นพื้นที่ตั้งอยู่ทิศตะวันออก ของประเทศ มีพื้นที่ทั้งหมด 37,506.59 ตร.กม. (23,441,620 ไร่) ประขาชนทั้งหมด 5,067,242 คน มีพื้นที่ทำการเกษตร 14,229,857 ไร่ มีเกษตรกร 1,681,922 คน ประกอบด้วยจังหวัดต่าง ๆ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, ชลบุรี, สมุทรปราการ, นครนายก, ปราจีนบุรี และสระแก้ว จากข้อมูลการทบทวนนโยบาย และยุทธศาสตร์ทิศทางการพัฒนาระดับภาคได้กำหนดเป็นประเด็น 5 ประเด็น คือ การพัฒนาอุตสาหกรรม, การพัฒนาด้านเกษตรกรรม, การพัฒนาด้านเกษตรกรรม (พืชและสัตว์), การส่งเสริมการท่องเที่ยว และการพัฒนาการค้าส่งออกและการค้าชายแดนกับระบบสุขภาพ เนื่องจากพื้นที่ทำการเกษตรโดยรวมทั้งภาคมีมากกว่าครึ่งของพื้นที่ทั้งหมด ยุทธศาสตร์ในหลายจังหวัดของภาคตะวันออก จึงเน้นการสนับสนุนเครือข่ายการผลิตและบริโภคครบวงจร เช่น วนเกษตร เกษตรผสมผสาน เกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ และเกษตรทฤษฎีใหม่ พัฒนาการผลิตตามแนว เศรษฐกิจพอเพียง การสรา้งความเข้มแข็งแก่เศราฐกิจชุมชน ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพ และตลอดจนมาตรฐาน รวมทั้งมีการอนุรักษ์และปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ป่าไม้ แหล่งน้ำ ป่าชายเลน มีการกำจัดขยะมูลฝอย และนำเสียอย่างมีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ และลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร ภายใต้โครงการผลผลิตคุณภาพ ฉะนั้น แนวทางการวิจัยเพ่อพัฒนาระบบสุขภาพของประชาชนในภาคตะวันออก จึงเน้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนไปในด้านการจัดการเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากการทำเกาตรกรรม หรือโรคที่เกิดจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรกรรม พิษภัยของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร และสมาชิกในครอบครัว แม้แต่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช รวมถึงสัตว์ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในชุมชน เช่น สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ แหล่งน้ำ และอาหาร เหล่านี้คือ ผู้บริโภค ผลผลิตทางการเกษตรที่มีสารเคมีตกค้างหรือปนเปื้อน ผู้ผลิตมักกล่าวว่าการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องจะปลอดภัย หรือโฆษณาว่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม แท้จริงแล้วสารเคมีเป็นพิษและไม่มีทางที่จะปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้เลย ดังนั้น จึงควรคำนึงถึงปัจจัยการได้รับผลกระทบจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและครอบคลุมเส้นทางการเข้าสู่ร่างกายทั้ง 3ด้าน คือ 1. การเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง พบว่า ร้อยละ 90 ของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกายผ่านผิวหนังโดยตรง เช่น เมื่อเกษตรกรสัมผัสกับพืชผลที่เพิ่งจะฉีดพ่น 4. โครงการศึกษาบทบาทขิงองค์กรท้องุิ่นในการดูแลสุขภาพเกษตรกร 5. โครงการศึกษาการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภค 6. โครงการศึกษานโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาสุขภาพเกษตรกร ระยะยาว: 1.โครงการศึกษาแนวทางการกำหนดหลักเกณฑ์และข้อบังคับท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพและควาคุมปัจจัยเสี่ยงในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม 2. โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการสนับสนุนเครือข่ายเกษตรกรในการดำเนินงานวิจัยอย่างยั่งยืน 3. โครงการศึกษากลไลการประสานความร่วมมือในกลุ่มเกษตรกร 4. โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาต้นแบบหรือตัวอย่างที่ดีในการจัดการเกษตรอย่างปลอดภัยไร้มลพิษ 5. โครงการศึกษาการส่งเสริมสุขภาพแบบบูรณาการ 6. โครงการศึกษากลไกการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการออกข้อบังคับ/ กฎหมายที่กำหนด การจัดทำผังพิสัยการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประเด็นระบบสุขภาพกับการพัฒนาการเกษตรภาคตะวันออกนี้ จะช่วยสนับสนุนให้ศูนย์การจัดดารงานวิจัยระบบสุขภาพภาคตะวันออกสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/46
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2549_004.pdf8.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น