กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4587
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของสารควบคุมการเจริญเติบโตและไคโตซานต่อการขยายพันธุ์หยาดน้ำค้างนิวซีแลนด์ (Drosera adelae F.Muell.) ในสภาพหลอดทดลอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The influence of plant growth regulators and Chitosan on Drosera adelae F.Muell. in vitro condition
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิรศาธิญากร บรรหาร
ช่อทิพย์ เงินเต็ม
คำสำคัญ: สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
ไคโตแซน
หยาดน้ำค้างนิวซีแลนด์ -- การขยายพันธุ์
หยาดน้ำค้าง (พืช) -- การขยายพันธุ์
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของสารควบคุมการเจริญเติบโตและไคโตซานที่มีต่อการขยายพันธุ์ของหยาดน้ำค้างนิวซีแลนด์ (Drosera adelae F.Muell.) ในสภาพหลอดทดลอง เริ่มจากการนำชิ้นส่วนใบขนาด 0.5×0.5 ตารางเซนติเมตรของต้นกล้าหยาดน้ำค้างนิวซีแลนด์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออายุ 3 เดือน มาเพาะเลี้ยงบนอาหารวุ้นสูตร ½ MS (Murashige and Skoog, 1962) ที่เติม kinetin ความเข้มข้น 0 0.1 และ 0.2 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ 2, 4- D ความเข้มข้น 1 3 และ 5 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 5 สัปดาห์ พบว่า สูตรอาหาร ½ MS ที่เติม kinetin 0.2 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ 2,4-D 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้ดีที่สุด 100% โดยแคลลัสที่เกิดขึ้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 15.60 มิลลิเมตร และน้ำหนักสดของแคลลัสมากที่สุด 0.36 กรัม ซึ่งแคลลัสที่เกิดขึ้น มีลักษณะเกาะตัวกันแน่น (compact callus) เมื่อนำชิ้นส่วนแคลลัสไปเพาะเลี้ยงบนอาหารวุ้นสูตร ½ MS ที่เติม kinetin ความเข้มข้น 0 0.2 0.4 0.6 0.8 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 7 สัปดาห์ พบว่า อาหารสูตร ½ MS ที่เติม kinetin 0.4 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดยอดได้ดีที่สุด โดยมีจำนวนยอดเฉลี่ย 20.00 ยอดต่อชิ้นเนื้อเยื่อ ความยาวยอดเฉลี่ย 1.30 เซนติเมตร จำนวนใบเฉลี่ย 4.80 ใบต่อยอดและความยาวใบเฉลี่ย 1.90 เซนติเมตร สำหรับการชักนำให้เกิดรากโดยนำชิ้นส่วนยอดมาเพาะเลี้ยงต่อบนอาหารวุ้นสูตร ½ MS ที่เติม NAA ความเข้มข้น 0 0.25 0.50 0.75 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 7 สัปดาห์ พบว่าอาหารสูตร ½ MS ที่เติม NAA 0.75 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดรากได้ดีที่สุด โดยมีจำนวนรากเฉลี่ยมากที่สุด 15.80 รากต่อชิ้นเนื้อเยื่อ ขณะที่การชักนำให้เกิดรากโดยการเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนแคลลัสบนอาหารวุ้นสูตร ½ MS ที่เติมไคโตซาน ความเข้มข้น 0 0.2 0.4 0.6 0.8 และ 1.0 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 5 สัปดาห์ พบว่า อาหารสูตร ½ MS ที่เติมไคโตซาน 0.8 เปอร์เซ็นต์ สามารถชักนำแคลลัสให้เกิดรากได้ดีที่สุด 100% และให้จำนวนรากเฉลี่ยมากที่สุด 13.00 รากต่อชิ้นเนื้อเยื่อ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4587
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
sci26n2p753-769.pdf1.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น