กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4567
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยบูรณาการ แนวการสอนวรรณกรรมสัมพันธ์ร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of Japanese instructional process by integrating literature circles approach and social constructivism to enhance mathayomsuksa five students’ Japanese speaking ability and learning achievement |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศิรารัตน์ ปิงเมือง จันทร์พร พรหมมาศ เด่นชัย ปราบจันดี |
คำสำคัญ: | ภาษาญี่ปุ่น -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทฤษฎีสรรคนิยม การพูด วรรณกรรมสัมพันธ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยบูรณาการแนวการสอนวรรณกรรมสัมพันธ์ร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดและผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยมี 5 ระยะ ตามแนว ADDIE Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาผลการใช้เป็นนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนศิลป์-ภาษาญี่ปุ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชลบุรี “สุขบท” ปีการศึกษา 2562 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถด้านการพูดภาษาญี่ปุ่น และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่น ทั้งนี้การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเรียนการสอนที่ภาษาญี่ปุ่นที่พัฒนาขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาญี่ปุ่นและผสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยองค์ประกอบหลักของกระบวนการเรียนการสอน มีความสอดคล้องตามแนวการสอนวรรณกรรมสัมพันธ์ที่บูรณาการร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม โดยขั้นการจัดการเรียนการสอนที่เรียงลำดับอย่างต่อเนื่อง มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นศึกษาค้นคว้า มุ่งใช้กลุ่มขนาดเล็กที่ปรับเปลี่ยนได้ตามความสนใจของนักเรียน และการเรียนรู้ แบบร่วมมือเพื่ออ่าน และวิเคราะห์วรรณกรรมที่สนใจ ขั้นไตร่ตรองสะท้อนความคิด มุ่งให้มีการเสริมต่อการเรียนรู้จากครู โดยอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดและสรุปสิ่งที่ได้จากการศึกษา และได้ความรู้เพิ่มเติมจากครู และขั้นสร้างความคิดรวบยอด มุ่งให้นักเรียนนำเสนอผลในรูปแบบต่าง ๆ และการให้ข้อมูลป้อนกลับจากครูเพื่อให้นักเรียนสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ การใช้ภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้ โดยแต่ละขั้นตอนส่งเสริมซึ่งกันและกันเพื่อบรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และ 2) ผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นที่พัฒนาขึ้น พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นดังกล่าว มีความสามารถด้านการพูดภาษาญี่ปุ่น และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งแสดงว่ากระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นสามารถส่งเสริมความสามารถด้านการพูดภาษาญี่ปุ่น และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4567 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
edu32n2p43-59.pdf | 283.66 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น