กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4549
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเบื้องต้นการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 ในผู้ใหญ่ตอนต้น ณ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Preliminary study: Care of type1 diabetes in emerging adulthood at Burapha University Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กฤชฐา จีระวงศ์พานิช
จามจุรี เวียงนาค
หยาดฝน ดิษบงค์
อดุลย์ คร้ามสมบุญ
คำสำคัญ: ผู้ป่วยเบาหวาน -- การดูแล
เบาหวาน -- ภาวะแทรกซ้อน
ผู้ป่วย -- การดูแล
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: บริบท โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในผู้ใหญ่ตอนต้นยังมีปัญหาในการดูแลควบคุมโรคและส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน วัตถุประสงค์ เพื่อติดตามผลลัพธ์จากการให้ความรู้ Diabetes Self-Management Program (DSMP) และการใช้อุปกรณ์สนับสนุนในการดูแลตัวเองเป็นระยะ 1 ปี โดยค่า HbA1C ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ 1% และศึกษาอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันและภาวะแทรกซ้อนระยะยาวจากโรคเบาหวานชนิดที่ 1 วิธีการศึกษา ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จำนวน 4 คน (จากจำนวน 6 คน) ที่สามารถติดตามการรักษาต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ให้การดูแลด้วยระบบ DSMP ประกอบด้วยการให้ความรู้ เสริมทักษะการนับอาหาร การฉีดยา การให้แผ่นสำหรับตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและแผ่นตรวจคีโตนในปัสสาวะด้วยตนเอง ติดตามการดูแลทุก 3 เดือน ได้แก่ วัดระดับ HbA1C ข้อมูลการใช้ insulin ความรู้สึกด้าน emotional state และ energy level ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันคือ diabetic ketoacidosis (DKA) และ hypoglycemia ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และภาวะแทรกซ้อนระยะยาวคือ diabetic retinopathy, diabetic nephropathy และ diabetic neuropathy ผลการวิจัย ผู้เข้าร่วมวิจัย 4 คน ทุกคนได้รับการรักษาด้วยอินซูลินแบบ Basal-Bolus regimen โดยผู้ป่วยคนที่ 1 หญิงไทยอายุ 21 ปี 6 เดือน เป็นเบาหวานมา 10 ปี 4 เดือน HbA1C ก่อนและหลังเข้าร่วมวิจัย 9.7% และ 7.8% (ลดลง 1.8%) ผู้ป่วยคนที่ 2 หญิงไทยอายุ 24 ปี เป็นเบาหวานมา 3 ปี 8 เดือน HbA1C ก่อนและหลังเข้าร่วมวิจัย 13.8% และ 12.1% (ลดลง 1.7%) ผู้ป่วยคนที่ 3 หญิงไทยอายุ 20 ปี 11 เดือน เป็นเบาหวานมา 9 ปี 4 เดือน ก่อนเข้าร่วมโครงการ เกิด DKA 3 ครั้งใน 1 ปี HbA1C ก่อนและหลังเข้าร่วมวิจัย 10.9 % และ 9.7% (ลดลง 1.2%) และผู้ป่วยคนที่ 4 ชายไทยอายุ 25 ปี 9 เดือน เป็นเบาหวานมา 7 ปี 5 เดือน ก่อนเข้าร่วมโครงการมี severe hypoglycemia 2 ครั้งใน 1 ปี HbA1C ก่อนและหลังเข้าร่วมวิจัย 7.6% และ 8.2% (เพิ่มขึ้น 0.6%) หลังเข้าร่วมวิจัยผู้ป่วยทั้ง 4 คน ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลและตรวจไม่พบภาวะแทรกซ้อนระยะยาว ผู้ป่วย 3 ใน 4 คน มีระดับ HbA1C ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ 1% แต่ยังสูงกว่า 7.0% ทุกคนและทุกครั้งที่ติดตามการรักษา ปัจจัยที่มีผลต่อค่า HbA1C คือ การเจาะ Self-monitoring blood glucose (SMBG) และปริมาณการใช้อินซูลินในแต่ละคน ส่วนความรู้สึกด้าน emotional state และ energy level ช่วง 6 เดือนแรกมีความกังวล แต่ 6 เดือนหลังเป็นปกติทุกคน สรุป ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ในผู้ใหญ่ตอนต้น 3 ใน 4 คนเมื่อติดตามการรักษาไป 1 ปี มีระดับ HbA1C ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ 1% ไม่พบการต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันและยังไม่พบภาวะแทรกซ้อนระยะยาว
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4549
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
med8n1p41-55.pdf197.81 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น