กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4541
ชื่อเรื่อง: Impact of early clinical exposure for second year medical students at Burapha University
ชื่อเรื่องอื่นๆ: ผลของการจัดประสบการณ์ทางคลินิกในช่วงต้นของหลักสูตรของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: Sornsupha Limchareon
Chirat Sukme
Pakaphan Dinchuthai
Nalinee Pattrakornkul
Sineenart Panichyawat
ศรสุภา ลิ้มเจริญ
จิรัฏฐ์ สุขมี
ผกาพรรณ ดินชูไท
นลินี ภัทรากรกุล
สินีนาฏ พาณิชยวัฏ
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
คำสำคัญ: Early clinical exposure
Medical students
Medicine -- Study and teaching
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: บริบท การจัดการศึกษาแพทยศาสตร์ในวิถีแบบดั้งเดิมทำให้ผู้เรียนประสบความยากลำบาก การให้ผู้เรียนได้สัมผัสความรู้และประสบการณ์ทางคลินิกตั้งแต่ระยะเริ่มแรกส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาต่อโครงการ “การสัมผัสความรู้และประสบการณ์ทางคลินิกตั้งแต่ระยะเริ่มแรก” (ECE) วิธีการศึกษา นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 2 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาสมัครใจเข้าร่วมโครงการ ECE ที่คณะผู้วิจัยจัดขึ้นในภาคฤดูร้อนหลังสิ้นสุดปีการศึกษาปีที่ 2 โดยเป็นการฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยในโรงพยาบาล จากนั้น นิสิตแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการตอบแบบสอบถามทันทีเมื่อสิ้นสุดโครงการ และตอบแบบสอบถามเดิมอีกครั้งเมื่อ จบการศึกษาภาคต้นของชั้นปีที่ 3 ใน 6 เดือนต่อมา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นระหว่าง 2 ครั้งโดยใช้สถิติ Wilcoxon match-pairs rank test เก็บข้อมูลเกรดเฉลี่ย (GPA) ของนิสิตปี 2 ภาคการศึกษาปลาย และนิสิตกลุ่ม เดียวกันเมื่อจบชั้นปี 3 ภาคการศึกษาต้น เปรียบเทียบเกรดเฉลี่ยของ 2 ภาคการศึกษาในนิสิตแพทย์ที่เข้าร่วม โครงการเพื่อดูการปรับปรุงโดยใช้สถิติ Wilcoxon match-pairs signed-ranks test เปรียบเทียบการปรับปรุง ของเกรดเฉลี่ยระหว่างนิสิตแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการกับนิสิตที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการโดยใช้สถิติ independent samples t-test ผลการศึกษา มีจำนวนนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 2 สมัครใจเข้าร่วมโครงการ 15 คน คิดเป็นร้อยละ 31.25 อัตราการตอบ กลับแบบสอบถามร้อยละ 80 ในครั้งแรก และร้อยละ 100 ในครั้งที่สอง ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของทั้งสองครั้ง (p = 1.00) นิสิตมากกว่าร้อยละ 90 เห็นด้วยว่าโครงการนี้ทำให้เข้าใจเนื้อหาวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์มากขึ้นและทำให้สนใจเรียนวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ทางการแพทย์มากขึ้น นิสิตอย่างน้อยร้อยละ 60 เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้ทำให้เห็นความสำคัญของวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์มากขึ้น นิสิต 8 ใน 10 คนอยากให้โครงการนี้บรรจุในหลักสูตรรายวิชาเลือกและร้อยละ 60 ของนิสิตไม่อยากให้โครงการนี้ถูกตัดออกจากหลักสูตร นิสิตแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการมีการปรับปรุงของเกรดเฉลี่ยระหว่าง 2 ภาคการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.354). สรุป นิสิตแพทย์ส่วนใหญ่มีความเห็นในด้านบวกต่อโครงการ ECE โดยส่วนใหญ่อยากให้โครงการนี้บรรจุเป็นรายวิชาเลือกในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4541
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
med8n2p15-25.pdf249.34 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น