กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4540
ชื่อเรื่อง: | การปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณชายทะเล ณ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Marine and beach bacterial wound contamination at Burapha University Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภาคภูมิ บำรุงราชภักดี ปองทิพย์ อุ่นประเสริฐ สันติชัย ดินชูไท ตระการ ไชยวานิช |
คำสำคัญ: | บาดแผลและบาดเจ็บ บาดแผลและบาดเจ็บ -- การติดเชื้อ บาดแผลและบาดเจ็บ -- การรักษา |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | บริบท การเกิดบาดแผลบริเวณชายทะเลอาจมีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียที่แตกต่างจากบาดแผลทั่วไป อุบัติการณ์ชนิดของเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อน ผลการรักษา และภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นอย่างไร วัตถุประสงค์ ศึกษาหาอุบัติการณ์ และชนิดของเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณชายทะเลที่มารักษา ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ปัจจัยที่มีผลต่อการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณชายทะเล วิธีการศึกษา ทำการศึกษาแบบไปข้างหน้า เก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 ถึง วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ระยะเวลา 14 เดือน โดยเก็บข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับบาดแผล ข้อมูลการรักษา ยาปฏิชีวนะที่ได้รับเก็บชิ้นเนื้อในบาดแผลส่งเพาะเชื้อแบคทีเรียทั้งแบบต้องการออกซิเจน และแบบไม่ต้องการออกซิเจนรายงานอุบัติการณ์ของเชื้อแบคทีเรียที่พบ วิเคราะห์ตัวแปรที่สัมพันธ์กับการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณชายทะเล ผลการศึกษา เก็บข้อมูลผู้ป่วย 100 คน เพศชาย 81 คน เพศหญิง 19 คน อายุเฉลี่ย 28.3 ปี (10-70 ปี) ระดับ การศึกษามีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.017 การศึกษาระดับ มัธยมศึกษามีโอกาสตรวจพบเชื้อแบคทีเรียมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับระดับการศึกษาอื่น odds ratio = 3.67 (95% CI 1.47-9.16), p = 0.005 สาเหตุการเกิดบาดแผลมีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.023 บาดแผลเกิดจากการกระทบกระแทกกับบุคคลอื่นพบว่า มีโอกาสตรวจพบ การปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสาเหตุอื่น odds ratio = 4.5 (95% CI 1.46-14.36), p = 0.009 ระยะเวลาเกิดบาดแผลมีความสัมพันธ์กับการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.037 เวลาที่น้อยกว่า 30 นาที มีโอกาสตรวจพบเชื้อแบคทีเรียมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มระยะ เวลาตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไป odds ratio = 2.9 (95% CI 1.11-7.71), p = 0.029 อุบัติการณ์การปนเปื้อนเชื้อ แบคทีเรียในบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณชายทะเลเท่ากับร้อยละ 30 พบ Staphylococcus epidermidis ร้อยละ 63.3 viridans group streptococci (VGS) ร้อยละ 20 Staphylococcus aureus ร้อยละ 10 และ Proteus vulgaris ร้อยละ 6.7 ในการศึกษานี้ไม่พบผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาบาดแผล สรุป การศึกษาระดับมัธยมศึกษา บาดแผลที่เกิดจากการกระทบกระแทกกับบุคคลอื่น และระยะเวลาเกิดบาดแผลน้อยกว่า 30 นาที มีโอกาสมากขึ้นในการตรวจพบการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณชายทะเล อุบัติการณ์ของเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณชายทะเล ส่วนใหญ่เป็นเชื้อ ประจาถิ่นบริเวณผิวหนัง และการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับบาดแผลทั่วไป การให้ยาปฏิชีวนะ จึงไม่มีความจำเป็นต้องให้กลุ่มที่แตกต่างจากบาดแผลเปิดในสิ่งแวดล้อมทั่วไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4540 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
med8n2p1-14.pdf | 288.63 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น