กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4521
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกภายในโรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of a clinical nursing practice guideline for hip fracture patients undergoing internal fixation surgery at Buddhasothorn Hospital, Chachoengsao |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จิราภรณ์ ฉลานุวัฒน์ ยุพาวรรณ ทองตะนุนาม กรรณิกา สัมฤทธิ์ นิภาวรรณ สามารถกิจ |
คำสำคัญ: | การพยาบาล กระดูกหัก กระดูก -- ศัลยกรรม สะโพก |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงกระดูกภายใน และศึกษาประสิทธิผล ของการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงกระดูกภายในที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลพุทธโสธร สุ่มตัวอย่างโดยการกำหนดช่วงเวลาและคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บรวมรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน 2564 จากกลุ่มตัวอย่าง 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 ราย และกลุ่มทดลอง 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลการเจ็บป่วย และการรักษาของผู้ป่วย แบบสอบถามการรับรู้ความพร้อมต่อการออกจากโรงพยาบาล แบบสอบถามพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพ และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบค่าที และ ODD Ratio ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกมีการรับรู้ความพร้อมต่อการออกจากโรงพยาบาลและพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพดีกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบเดิม (p < .05) ตามลำดับ มีจำนวนวันนอนโรงพยาบาลน้อยกว่า (p < .05) และผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามรูปแบบเดิม 4.33 เท่า (OR = 4.33; 95% CI =1.04-1.99) พยาบาลวิชาชีพผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลมีความคิดเห็นว่าสามารถนำแนวปฏิบัติฯ นี้ไปใช้ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลพุทธโสธรได้ในระดับมากและมากที่สุด ผลการวิจัยนี้สหวิชาชีพสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสภาพและมีการฟื้นหายอย่างสมบูรณ์ กลับไปดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4521 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
nus29n4p34-46.pdf | 486.95 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น