กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4510
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอลงกรณ์ พุดหอม
dc.date.accessioned2022-07-05T10:46:22Z
dc.date.available2022-07-05T10:46:22Z
dc.date.issued2564
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4510
dc.description.abstractศึกษาความชุกชุมและการกระจายของแพลงก์ตอนสัตว์และปัจจัยสิ่งแวดล้อมบริเวณแม่น้ำพังราด โดยเก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนสัตว์ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 จำนวน 5 สถานี ได้แก่ สถานีปากแม่น้ำ (ST1), พื้นที่ชุมชน (ST2), พื้นที่เลี้ยงหอย (ST3), พื้นที่เลี้ยงกุ้ง (ST4) และสาขาแม่น้ำท่ากง (ST5) โดยใช้ถุงลากแพลงก์ตอนขนาดความถี่ตาข่าย 150 ไมโครเมตร พบแพลงก์ตอนสัตว์ทั้งสิ้น 53 กลุ่ม (Taxa)จาก 14ไฟลัม แบ่งเป็นแพลงก์ตอนสัตว์ถาวร 29 กลุ่ม และแพลงก์ตอนสัตว์ชั่วคราว 24 กลุ่ม โดยไฟลัม Arthropoda พบความชุกชุมสูงที่สุด คิดเป็น 83.88 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาได้แก่ ไฟลัม Mollusca และไฟลัม Annelida ตามลำดับ โดยมี คาลานอยด์โคพีพอดเป็นแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเด่นในแม่น้ำพังราด จากการศึกษาตลอดทั้งปี พบความชุกชุมของแพลงก์ตอนสัตว์สูงสุดในเดือนพฤษภาคม เท่ากับ 63.42±22.05x102 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร รองลงมาได้แก่เดือนมิถุนายน ธันวาคม และพฤศจิกายน เท่ากับ 62.19±5.47,57.46±10.53 และ 52.91±12.08 x102 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบการศึกษาในแต่ละสถานีพบสถานีปากแม่น้ำ (ST1) มีความชุกชุมของแพลงก์ตอนสัตว์สูงสุดเท่ากับ (50.46±27.64 x102 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร) รองลงมาได้แก่ พื้นที่ชุมชน (ST2, 46.07±17.16 x102 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร) พื้นที่เลี้ยงกุ้ง (ST3, 40.82±14.07 x102 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร) และ สาขาแม่น้ำท่ากง (ST5, 33.46±15.78x102 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร) ส่วนสถานีพื้นที่เลี้ยงกุ้ง (ST4) พบความชุกชุมต่ำสุด เท่ากับ 32.17±15.04x102 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร จากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ทราบถึงความชุกชุมและการกระจายของแพลงก์ตอนสัตว์บริเวณแม่น้ำพังราดตลอดทั้งปี รวมทั้งผลการศึกษาที่ได้ใช้ในการวางแผนการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ในกลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์และสิ่งมีชีวิตในทะเลบริเวณแม่น้ำพังราดต่อไปในอนาคตth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectแพลงก์ตอนสัตว์ -- ไทย -- ระยองth_TH
dc.subjectสัตวภูมิศาสตร์th_TH
dc.titleความชุกชุมและการกระจายของแพลงก์ตอนสัตว์บริเวณแม่น้ำพังราด อำเภอแกลง จังหวัดระยองth_TH
dc.typeArticleth_TH
dcterms.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.issue3th_TH
dc.volume26th_TH
dc.year2564th_TH
dc.description.abstractalternativeAbundance and distribution of zooplankton and environmental factors along Phang Rad River were studied on five different stations, i.e., Pang Rad estuary (ST1), Urban areas (ST2), Oyster farming areas (ST3), Shrimp farming areas (ST4), and Tha Kong River branch (ST5), during May 2018 to April 2019. Zooplankton samples were collected using a plankton net with a mesh size of 150 micrometers. A total of 53 taxa from 14 zooplankton phyla were found. From that, 29 taxa were holoplankton while 24 taxa were meroplankton. The most abundance was the Phylum Arthropoda (83.88%), following by Mollusca and Annelida. Calanoid copepods were the dominant group found in this study. For all year round, the highest abundance of zooplankton was found in May (63.42±22.05 x102 ind. /m2) following by June (62.19±5.47 x102 ind. /m2), December (57.46±10.53 x102 ind. /m2), and November (52.91±12.08 x102 ind. /m2), respectively. Comparing with the study areas, ST1 had the highest abundance (50.46±27.64 x102 ind./m2) following by ST2 (46.07±17.16 x102 ind./m2), ST3 (40.82±14.07 x102 ind./m2) and ST5 (33.46±15.78x102 ind./m2), respectively. The lowest abundance was found in the ST4 (32.17±15.04 x102 ind./m2). The results from this study can help understand the abundance and distributionof zooplankton throughout the year, and the results can be used as a guideline for setting a standard measurement for the conservationof zooplankton resources in the Pang-Rad river in the future.en
dc.journalวารสารวิทยาศาสตร์บูรพาth_TH
dc.page1836-1857.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
sci26n3p1836-1857.pdf820.54 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น