กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4499
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาอิทธิพลของการจัดการองค์กรสุขภาวะ และการตลาดภายในที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของธุรกิจที่พักแรม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Happy Workplace and Internal Marketing effect to Customer Retention of Accommodation Business |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศักดิ์ชัย เศรษฐ์อนวัช มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว |
คำสำคัญ: | การจัดการองค์กร การซื้อสินค้า พฤติกรรมผู้บริโภค การกลับมาซื้อซ้ำ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบอิทธิพลของการจัดการองค์กรสุขภาวะ และการตลาดภายในที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของธุรกิจที่พักแรม ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบอิทธิพลของการจัดการองค์กรสุขภาวะ และการตลาดภายในที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของธุรกิจที่พักแรม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับพนักงานต้อนรับส่วนหน้าที่ปฏิบัติงานในธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท และห้องชุด จำนวน 400 ตัวอย่าง และผู้ใช้บริการที่พักแรม จำนวน 400 ตัวอย่าง รวมจำนวนการเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 800 ตัวอย่างจากทั้งสองแหล่งข้อมูล กำหนดการสุ่มกำหนดการสุ่มโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota sampling) กำหนดพื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นพื้นที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ร้อยละ 50 ในอัตราส่วน 1 : 1 ทั้งนี้ เมื่อเก็บข้อมูลกับพนักงานต้อนรับส่วนหน้า 1 ตัวอย่าง จะเก็บข้อมูลกับผู้ใช้บริการที่พักแรมแห่งนั้น 1 ตัวอย่าง และจะจับคู่ผลการให้ข้อมูลทั้งสองแหล่งข้อมูลรวมเป็นหนึ่งชุดข้อมูลผ่านเลขรหัสแบบสอบถามที่เชื่อมโยงข้อมูลในส่วนของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรกับกระบวนการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้า วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลเชิงสาเหตุการจัดการองค์กรสุขภาวะ และการตลาดภายในที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของธุรกิจที่พักแรมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ความพึงพอใจเป็นสาเหตุทางตรง (Direct Cause) ของการกลับมาใช้บริการซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทย ขณะที่การจัดการองค์กรสุขภาวะ และการตลาดภายในเป็นสาเหตุทางอ้อม (Indirect Cause) ของการกลับมาใช้บริการซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทย โมเดลที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี (ค่าสถิติ Chi-square เท่ากับ 5.60 ค่า df เท่ากับ 6 ค่า p เท่ากับ .47 ดัชนี GFI เท่ากับ 1.00) ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการกลับมาใช้บริการซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทยได้ร้อยละ 3 สรุปได้ว่า ความพึงพอใจเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยมีการกลับมาใช้บริการซ้ำในธุรกิจที่พักแรม ส่วนปัจจัยเสริมส่งผ่านความผูกพันต่อองค์กร ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานต้อนรับส่วนหน้า และคุณภาพบริการ คือ การตลาดภายใน และการจัดการองค์กรสุขภาวะ |
รายละเอียด: | งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4499 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_228.pdf | 4.67 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น