กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4497
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | เกียรติษฎา ภูมิเพ็ง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | th |
dc.date.accessioned | 2022-06-28T06:28:46Z | |
dc.date.available | 2022-06-28T06:28:46Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4497 | |
dc.description | โครงการวิจัยทุนสนับสนุนบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ เพื่อพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research: R2R) มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบประมาณเงินอุดหนุนการวิจัยจากกองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่อง “การศึกษาความต้องการและแรงจูงใจในการทางานวิจัยสถาบันของบุคลากร สายสนับสนุนวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา” ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความต้องการ และแรงจูงใจในการทำงานวิจัยสถาบัน เพื่อเปรียบเทียบระดับความต้องการในการทำงานวิจัยสถาบัน จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความต้องการในการทำงานวิจัยสถาบัน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดทำแผนงาน โครงการหรือกิจกรรมของผู้บริหารในการส่งเสริมแรงจูงใจในการทำงานวิจัยสถาบัน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามจากบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 63 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างรายคู่ใช้วิธีการทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธี LSD. และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการทำงานวิจัยสถาบัน ภาพรวมและทุกข้ออยู่ในระดับปานกลาง (= 2.64, = 0.83) ความต้องการในการทำงานวิจัยสถาบัน ภาพรวมและทุกข้ออยู่ในระดับมาก (= 3.88, = 0.80) เมื่อจำแนกเป็นรายข้อ พบว่า ต้องการให้คณะวิทยาศาสตร์ส่งเสริม หรือสนับสนุนให้ทำงานวิจัยสถาบัน เป็นอันดับที่ 1 รองลงมาคือ ต้องการได้รับการพัฒนาความรู้ ประสบการณ์หรือทักษะในการทำวิจัยสถาบัน และต้องการได้รับการพัฒนาความรู้ในการเขียน โครงการวิจัย ตามลำดับ แรงจูงใจในการทำงานวิจัยสถาบันของบุคลากร ภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก (= 3.86, = 0.48) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความพึงพอใจที่เกิดขึ้นจากงานที่ได้รับ มอบหมาย มีค่าเฉลี่ยมากเป็นอันดับที่ 1 รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาและเพื่อน ร่วมงาน ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านความรู้สึกมั่นคงในอาชีพ และความมั่นคง ด้านสภาพทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านสถานะทางอาชีพและความก้าวหน้าในอาชีพ และด้านเงินเดือนและสวัสดิการ ตามลำดับ ผลการวิเคระห์ความต้องการในการทางานวิจัยสถาบันของบุคลากร จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่มีเพศ อายุ ประเภทบุคลากร สังกัด ระดับการศึกษา และระยะเวลาการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความต้องการในการทำงานวิจัยสถาบันไม่แตกต่างกัน ส่วนผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานวิจัยสถาบันกับความต้องการในการทำงานวิจัยสถาบัน พบว่า ภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันทางบวก ในระดับต่ำถึงระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะ เห็นว่าคณะวิทยาศาสตร์ควรจัดอบรม เสวนา หรือให้ความรู้ในการทำวิจัยสถาบันแก่บุคลากรอย่างจริงจัง เพื่อพัฒนาความต้องการและสร้างแรงจูงใจในการทำวิจัยสถาบัน เป็นอันดับที่ 1 ควรพิจารณานำผลงานไปประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยให้ค่าน้ำหนักที่สูง เนื่องจากต้องมีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และใช้เวลาในการผลิตผลงานค่อนข้างมาก และเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำผลงานควรสนับสนุนให้ได้เงินประจำตำแหน่งชำนาญการ ซึ่งเห็นว่าสำคัญมากในการสร้างแรงจูงใจในการทำวิจัยสถาบัน เป็นอันดับที่ 2 และควรมีแนวปฏิบัติหรือนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนการทำวิจัยสถาบัน เพื่อนำไปสู่ความก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ เป็นอันดับที่ 3 ตามลำดับ | th_TH |
dc.description.sponsorship | กองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ | th_TH |
dc.subject | แรงจูงใจในการทำงาน | th_TH |
dc.subject | การทำงาน - - วิจัย | th_TH |
dc.title | การศึกษาความต้องการและแรงจูงใจในการทำงานวิจัยสถาบันของบุคลากร สายสนับสนุนวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.title.alternative | A study of needs and motivation for routine to research (R2R) developing of academic supporting staff in Faculty of Science Burapha University | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | kiatsada@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2564 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of the study of needs and motivation in research development of the academic supporting staff in faculty of science Burapha University were 1) to study the level of need for development of routine to research (R2R) 2) to study the motivation of the development of routine to research 3) to compare the level of need for R2R development classified by personal status and 4) to study the relationship between development of R2R motivation and need for institutional research. The data were collected by questionnaires from population groups classified by type of academic supporting staff in faculty of science, a total of 63 people. The statistical parameter used in data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation by performing the t-test One-Way ANOVA analysis. When pair differences were found, the post hoc method was used by LSD (Least-Significant Different) at significance level of 0.05. The relationship was analyzed by Pearson product moment correlation coefficient at the statistical significance level of 0.05. The results showed that the knowledge and competence in R2R development were found in the overall and all items were at a moderate level. Academic supporting staff have needs to development of R2R at a high level. When classified by individual clues, it was found that top three means are 1) required to get the promoting of R2R development from faculty of science, 2) required the development of knowledge, experience or skills in conducting R2R development and 3) required the development of knowledge in writing a research project respectively. The motivations for R2R development of academic supporting staff in overall is high level. When classified by each side, it was found that the satisfaction that arose from the work assignment is highest in average value followed by relationships with supervisors and colleagues in successive in work, the respective in The results of the analysis of the need in development of R2R classified by personal status of staff showed that the overview of academic support personnel with gender, age, type of personnel under education level and the duration of the operation differs. There are no different requirements for R2R development at significance level at 0.05. The results of the analysis of the relationship between motivation of R2R development and demand were found that the overall and each aspect had a positive relationship at a low to moderate level with statistical significance at the 0.05. Academic Supporting staff have further recommendations for the development of R2R such as the faculty of science should seriously organize training, discussion or give knowledge in conducting institutional research to academic support personnel to develop needs and create incentives for conducting institutional research (most requirement) followed by the faculty of science should consider using the results for performance appraisal by giving a high weight value. This is because it requires knowledge, skills, experience and takes quite a lot of time to produce works and to create incentives to do their work, faculty of science should support them to earn money for professional positions. This is considered very important in creating incentives for institutional research. In finally, the faculty of science should have clear guidelines or policies to support institutional research to lead to career advancement of academic support personnel respectively. | en |
dc.keyword | สาขาการศึกษา | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_226.pdf | 3.96 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น