กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4493
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแนวทางจัดการเรียนรู้สำหรับวิชาด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและการออกแบบในหลักสูตรสองภาษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้แนวทางแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Application of CLIL Approach for History of Arts and Design Courses in Bi-lingual Program of Burapha University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภัทรนันท์ คุณพูนทรัพย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: หลักสูตร
การจัดการเรียนรู้
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องการพัฒนาแนวทางจัดการเรียนรู้สำหรับวิชาด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและการออกแบบ ในหลักสูตรสองภาษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้แนวทางแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เนื้อหาของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทักษะภาษาอังกฤษของกลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียนแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มทดลองหลังจากเรียนแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา ประชากรคือนิสิตชั้นปี 1 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม คือ 1) นิสิตรหัส 63 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาประวัติศาสตร์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 21 คน และ 2) นิสิตรหัส 64 ที่ลงทะเบียนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 28 คน กลุ่มควบคุมคือนิสิตรหัส 62 จำนวน 24 คน ที่ลงทะเบียนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก และวิชาประวัติศาสตร์การออกแบบผลิตภัณฑ์ในปีการศึกษา 2562 เครื่องมือวิจัยสำหรับวัตถุประสงค์ที่ 1 คือข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์การ ออกแบบผลิตภัณฑ์ ข้อสอบวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก ส่วนเครื่องมือวิจัยสำหรับวัตถุประสงค์ที่ 2 ได้แก่ แบบวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษในด้านความแม่นยำที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเอง และ Rubric สำหรับวิเคราะห์ภาษาที่ดัดแปลงจาก Language Rubric โดย Cambridge Language Assessment และเครื่องมือวิจัยสำหรับวัตถุประสงค์ที่ 3 คือระบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยบูรพา ผลการศึกษาพบว่า ผู้เรียนในชั้นเรียนที่ออกแบบตามแนวทางแบบ CLIL มีความพึงพอใจในระดับ มาก ส่วนระดับทักษะภาษาอังกฤษของผู้เรียนในชั้นเรียนที่ออกแบบตามแนวทางแบบ CLIL นั้นเพิ่มขึ้นแต่ ไม่ได้มีนัยยะสำคัญ เนื่องจากส่นที่เพิ่มขึ้นคือระดับความคล่อง (Fluency) ไม่ใช่ความแม่นยำ (Accuracy) อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าผลการเรียนรู้เนื้อหาจะใกล้เคียงกันระหว่างกลุ่มที่เรียนแนวทาง CLIL และกลุ่มที่เรียนด้วยภาษาแม่ ดังนั้นแนวทางแบบ CLIL น่าจะเป็นแนวทางที่สามารถใช้กับผู้เรียนวิชาด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและการออกแบบได้ แต่หากคาดหวังให้ผู้เรียนในหลักสูตรสองภาษามีระดับทักษะภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ก่อนที่จะเข้าสู่ชั้นเรียนแบบใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง (EMI) ในวิชาอื่นที่ระดับสูงขึ้นไปนั้น ก็ควรจัดให้มีคอร์สเสริมทักษะภาษาแบบเข้มข้นในระยะสั้นที่สอนโดยผู้ชำนาญด้านการสอนภาษา ดังข้อเสนอของ Galloway (2017) แต่หากงบประมาณไม่เพียงพอ อย่างน้อยก็ควรจะต้องเตรียมการอบรมให้ผู้ที่สอนเนื้อหาสามารถสอนภาษาได้ หรืออาจต้องให้เวลาสำหรับไปศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้นโดยทางคณะควรนับเปwนภาระงานด้วย ดังที่ Kewara (2017) กล่าวว่าการพัฒนาผู้สอนต้องใช้เวลาและงบประมาณ
รายละเอียด: ทุนสนับสนุนจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4493
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_222.pdf2.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น