กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4483
ชื่อเรื่อง: การสังเคราะห์งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา (ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ งานนิพนธ์) คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปี พ.ศ. 2560 2563
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Graduate Research Synthesis (Dissertation, Thesis, Independent Study) Faculty of Logistics Burapha University, 2017 - 2020
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ตุลาพล นิติเดชา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะโลจิสติกส์
คำสำคัญ: การสังเคราะห์งานวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การสังเคราะห์ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ งานนิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ งานนิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ระหว่างปี พ.ศ. 2560 2563 (ถึง เม.ย.) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ดุษฏีนินพธ์ วิทยานิพนธ์ งานนิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษาคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ระหว่างปี พ.ศ. 2560 2563 (ถึงเม.ย.) จำนวน 214 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ คือ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานงานวิจัย ได้แก่ ชื่อผู้วิจัย ชื่อเรื่องงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อาจารย์ที่ปรึกษา ระดับการศึกษา ระดับงานวิจัย (ดุษฎีนิพนธ์/ วิทยานิพนธ์/ งานนิพนธ์) ตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัย ได้แก่ การบริการลูกค้า การดำเนินการตามคำสั่งซื้อของลูกค้า การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า การบริหารสินค้าคงคลัง กิจกรรมการขนส่ง การบริหารคลังสินค้า กิจกรรมการขนส่ง การบริหารคลังสินค้า โลจิสติกส์ย้อนกลับ การจัดซื้อ การจัดเตรียมอะไหล่และชิ้นส่วนต่าง ๆ การเลือกที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้า การขนถ่ายวัสดุ บรรจุภัณฑ์ การติดต่อสื่อสารทางด้านโลจิสติกส์ และอื่น ๆ ซึ่งเมื่อสร้างเครื่องมือแล้ว ได้นำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จานวน 3 ท่าน ให้ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือวิจัย เพื่อหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่างเนื้อหาของงานวิจัยกับหัวข้อในเครื่องมือของการวิจัย มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60 1.00 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 และนามาวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์ค่าสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ ผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลพื้นฐานงานวิจัย พบว่า จำนวนดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ งานนิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่มีจำนวนมากที่สุด คือ ปี พ.ศ. 2561 โดยมีอาจารย์ที่เป็นที่อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ งานนิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา ปี พ.ศ. 2560 2563 (ถึง เม.ย.) มากที่สุด คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐิติมา วงศ์อินตา และหากแยกตามปี พ.ศ. แล้ว ในปี พ.ศ. 2560 มี 2 คน ที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษามากที่สุด คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐิติมา วงศ์อินตา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพโรจน์ เร้าธนชลกุล ในปี พ.ศ. 2561 คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐิติมา วงศ์อินตา ที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษามากที่สุด ในปี พ.ศ. 2562 มี 2 คน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพโรจน์ เร้าธนชลกุล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐิติมา วงศ์อินตา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษามากที่สุด และในปี พ.ศ. 2563 (ถึง เม.ย.) คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์มานะ เชาวรัตน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษามากที่สุด สำหรับส่วนของจำนวนดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ งานนิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา (ระดับงานวิจัย) ปี พ.ศ. 2560 2563 (ถึง เม.ย.) แล้ว พบว่า งานวิจัยพี่มากที่สุด คือ ปริญญาโท แผน ข. (งานนิพนธ์) รองลงมา คือ ระดับการศึกษา ปริญญาเอก (ดุษฎีนิพนธ์) และอันดับสาม คือ ปริญญาโท แผน ก. (วิทยานิพนธ์) ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัย ซึ่งภาพรวมทั้งหมด พบว่า กิจกรรมที่มีการทำวิจัยมากที่สุด คือ กิจกรรมการขนส่ง รองลงมา คือ เรื่องอื่น ๆ และกิจกรรมที่ไม่การศึกษาวิจัยเลย คือ กิจกรรมการติดต่อสื่อสารทาง โลจิสติกส์ แต่หากแยกเป็นปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 2563 (ถึง เม.ย.) แล้ว จะพบว่า ปี พ.ศ. 2560 2561 นั้น จะเป็นเรื่อง กิจกรรมการขนส่ง ที่ทามากที่สุด และในปี พ.ศ. 2562 2563 (ถึง เม.ย.) จะเป็นเรื่องอื่น ๆ หากเมื่อแยกตามระดับงานวิจัยที่เป็นระดับ ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ งานนิพนธ์ นั้น เรื่องที่ทำมากที่สุด ก็ยังเป็นกิจกรรมการขนส่ง สำหรับงานวิจัยที่เป็นเรื่องอื่น ๆ พบว่า ปี พ.ศ. 2560 ลำดับที่ 1 คือ การจัดการโซ่อุปทาน ลำดับที่ 2 การปรับปรุงกระบวนการผลิต และลำดับที่ 3 มีดังนี้ การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การประเมินความพึงพอใจ การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต่อการทำงานด้านโลจิสติกส์ ปี พ.ศ. 2561 ลำดับที่ 1 คือ การจัดการโซ่อุปทาน ลำดับที่ 2 การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต่อการทางานด้านโลจิสติกส์ และลำดับที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน ปี พ.ศ. 2562 ลำดับที่ 1 การจัดการโซ่อุปทาน ลำดับที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน และลำดับที่ 3 การปรับปรุงกระบวนการผลิต ปี พ.ศ. 2563 (ถึง เม.ย.) ลำดับที่ 1 การจัดการโซ่อุปทาน ลำดับที่ 2 การปรับปรุงกระบวนการผลิต ซึ่งทุกปี ลำดับที่ 1 จะเป็นงานวิจัยเรื่องอื่น ๆ ที่ศึกษา คือ การจัดการโซ่อุปทาน ในส่วนของจำนวนดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ งานนิพนธ์ ที่เกี่ยวข้องกับเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) ปี พ.ศ. 2560 2563 (ถึง เม.ย.) มีดังนี้ ปี พ.ศ. 2560 จำนวน 1 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 1.96 จากจำนวนทั้งหมด 51 เล่ม ปี พ.ศ. 2561 จำนวน 2 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 2.70 จากจำนวนทั้งหมด 74 เล่ม ปี พ.ศ. 2562 จำนวน 1 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 1.61 จากจำนวนทั้งหมด 62 เล่ม ปี พ.ศ. 2563 (ถึง เม.ย) ยังไม่มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนเรื่องวิจัยทั้งหมด นั่นทำให้เห็นว่าตัวนิสิตยังไม่ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทั้ง ๆ ที่ผู้เรียน และสถาบันเองอยู่ในเขตพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยตัวนิสิตที่ทำวิจัยเองนั้นจะมุ่งเน้นส่วนใหญ่ไปที่ลักษณะงานของที่ตัวเองทำอยู่ หรือของสถานประกอบการที่ทำงานอยู่เสียส่วนใหญ่ หรือจะเป็นเพียงธุรกิจที่ตัวเอง หรือครอบครัวกำลังทำอยู่ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเอง และขององค์กรตัวเองมากกว่า
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ งานวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี จากกองทุนเพื่อการวิจัย เงินอุดหนุนทุนการวิจัย คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2563
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4483
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_194.pdf2.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น