กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4469
ชื่อเรื่อง: | การประยุกต์ใช้การเคลือบน้ำมันหอมระเหยไทมอลและการปรับสภาพบรรยากาศในบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาหอยแมลงภู่ต้ม : การเคลือบน้ำมันหอมระเหยไทมอล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Application of thymol essential oil alginate-based coating and modified atmosphere packaging to prolong shelf-life of cooked green musse : thymol essential oil alginate-based coating |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สวามินี ธีระวุฒิ ปฏิยุทธ์ ขวัญอ่อน มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | น้ำมันหอมระเหย - - การใช้ประโยชน์ หอยแมลงภู่ - - การเก็บและรักษา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ระดับการยอมรับเนื้อหอยแมลงภู่สุกที่ผ่านการเคลือบสารละลายน้ำมันหอมระเหยไทมอล มี 4 ลักษณะ คือ ลักษณะปรากฏ กลิ่น รสชาติและเนื้อสัมผัส โดยกำหนดให้ระดับการยอมรับกลิ่นที่คะแนนน้อยกว่า 3 เป็นระดับการยอมรับที่ใช้ตัดสินอายุการเก็บรักษาเนื้อหอยแมลงภู่สุกเคลือบน้ำมันหอมระเหยไทมอลและการน้าเนื้อหอยแมลงภู่สุกมาเคลือบด้วยสารละลายน้ำมันหอมระเหยไทมอล แตกต่างกัน 2 แบบ ได้แก่ TTM01 (สารละลายน้ำมันหอมระเหยไทมอล 0.1% ในสารละลายอัลจิเนต 0.002%) และ TTM05 (สารละลายน้ำมันหอมระเหยไทมอล 0.5% ในสารละลายอัลจิเนต 0.002%) เปรียบเทียบกับเนื้อหอยแมลงภู่ที่ไม่เคลือบ (TCC) และเคลือบสารละลายอัลจิเนต 0.002% (TAC) เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 ± 1 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 18 วัน พบว่า เนื้อหอยแมลงภู่สุกเคลือบสารละลายน้ำมันหอมระเหยไทมอล TTM05 ช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางเคมี (TVB-N และ TMA-N) คุณภาพคุณภาพทางจุลินทรีย์ (จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด) และคุณภาพทางประสาทสัมผัส (ลักษณะปรากฏ กลิ่น เนื้อสัมผัส และรสชาติ) ได้มากที่สุด รองลงมาได้แก่ TTM01, TAC และ TCC ตามล้าดับ นอกจากนี้เนื้อหอยแมลงภู่สุกในทุกชุดการทดลองยังตรวจไม่พบการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโรคทั้งโคลิฟอร์มแบคทีเรียและ E. coli ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา 18 วัน เมื่อพิจารณาอายุการเก็บรักษาจากคุณภาพทางประสาทสัมผัสที่เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการผลิตอาหารและการยอมรับด้านประสาทสัมผัสถึงจุดสิ้นสุด (คะแนนการยอมรับด้านกลิ่นต่ำกว่า 3 คะแนน) ร่วมกับจ้านวนจุลินทรีย์ทั้งหมด (อาหารทะเลปรุงสุกมีจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดไม่เกิน 6.0 log CFU/กรัม) ท้าให้ผู้ทดสอบยังคงมีความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์ โดย TTM05 และ TTM01 เก็บรักษาได้ 14 และ 10 วัน ตามล้าดับ ขณะที่ TAC เก็บรักษาได้ 6 วัน ส่วน TCC เก็บรักษาได้เป็นระยะเวลาสั้นที่สุดคือ 4 วัน |
รายละเอียด: | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4469 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_166.pdf | 835.91 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น