กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4466
ชื่อเรื่อง: การศึกษาผลการเสริมฤทธิ์ของมะเขือเทศราชินีด้วยวิตามินซีต่อความสามารถในการต้านสารอนุมูลอิสระและการออกฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of antioxidant and antimicrobial activities of Solanum lycopersicum L. var. cerasiforme together with vitamin C.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิรมล ธรรมวิริยสติ
ปองรุ้ง จันทรเจริญ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
คำสำคัญ: มะเขือเทศ - - พันธุ์ราชินี
สารต้านจุลชีพ
สารสกัดจากพืช - - การวิเคราะห์
แอนติออกซิแดนท์
อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: มะเขือเทศราชินีเป็นพืชชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร นิยมใช้รับประทานสด และ แปรรูปเป็นผลไม้แช่อิ่ม สามารถนำมาใช้เป็นพืชสมุนไพรแต่ยังไม่มีการรายงานผลในการรักษาเป็นที่ ชัดเจน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของมะเขือเทศต่อความสามารถในการต้าน สารอนุมูลอิสระและการออกฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ ผลการสกัดโดยใช้น้ำปราศจากเชื้อและเอทานอลเป็น ตัวทำละลาย พบว่า เมื่อสกัดมะเขือเทศราชินีด้วยน้ำปราศจากเชื้อที่ความเข้มข้นน้ำหนักสด 50 กรัม ต่อมิลลิลิตร มีปริมาณวิตามินซีเท่ากับ 0.32 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และเมื่อสกัดด้วยเอทานอลที่ความ เข้มข้นน้ำหนักสด 1.67 กรัมต่อมิลลิลิตร มีปริมาณวิตามินเอเท่ากับ 0.009 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สาร สกัดที่ได้นำมาศึกษาฤทธิ์การต้านเชื้อจุลชีพ จำนวน 6 สายพันธุ์ ได้แก่ Staphylococcus aureus, Streptococcus pyogenes, Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Candida albican และ Candida tropicalis ด้วยวิธี broth dilution test พบว่า ค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้ง เชื้อ (Minimal Inhibitory Concentration; MIC) ของสารสกัดจากมะเขือเทศราชินีด้วยน้ำ ปราศจากเชื้อ แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S. pyogenes เท่ากับ 25 กรัมต่อมิลลิลิตร สารสกัดมะเขือเทศ ราชินีด้วยเอทานอลแสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S. pyogenes และ Ps. aeruginosa มีค่า MIC เท่ากับ 0.7 และ 0.6 กรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ในขณะที่วิตามินซีบริสุทธิ์สามารถยับยั้งเชื้อจุลชีพได้ทั้ง 6 ชนิด โดยมี ค่า MIC ยับยั้งเชื้อ S. aureus, S. pyogenes และ Ps. aeruginosa เท่ากับ 3×10-5 มิลลิกรัม ต่อมิลลิลิตร, เชื้อ E. coli มีค่า MIC เท่ากับ 4.5×10-5 มิลลิกรัมต่อมิลิลิตร, เชื้อ C. albican และ C. tropicalis มีค่า MIC เท่ากับ 5×10-5 มิลลิกรัมต่อมิลิลิตร ตามลำดับ ส่วนสารละลาย β-carotene ไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลชีพได้ เมื่อทำการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี FRAP (ferric reducing-antioxidant power) สารสกัดจากมะเขือเทศราชินีที่สกัดด้วยเอทานอลมี ค่า FRAP Value เท่ากับ 61.00±7.19 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งมีความสามารถในการรีดิวซ์เฟอริกได้ ดีกว่าสารสกัดด้วยน้ำปราศจากเชื้อซึ่งมีค่า FRAP value เท่ากับ 40.09±3.81 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ผลของ DPPH (free radical scavenging) assay พบว่าสารสกัดมะเขือเทศที่สกัดด้วยเอทานอล สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 ที่ค่า 0.55 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้ง อนุมูลอิสระได้ดีกว่าสารสกัดด้วยน้ำที่มีความสามารถที่ยับยั้งอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 ที่ค่า 2.33 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดมะเขือเทศด้วยเอทานอลสามารถออกฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพและต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าเมื่อสกัดด้วยน้ำ ซึ่งความรู้เหล่านี้สามารถนำไปสู่การพัฒนา ปรับปรุง และแปรรูปอาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์ต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น
รายละเอียด: งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ด้านการวิจัยปีงบประมาณ 2556
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4466
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_163.pdf1.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น