กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4455
ชื่อเรื่อง: ระบบควบคุมอัตโนมัติควบคุมระยะไกลสำหรับการปลูกเมล่อนในโรงเรือน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Remote autonomous control system for melonplanting in the greenhouse
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพฑูรย์ ศรีนิล
สุมิตร คุณเจตน์
ธารารัตน์ พวงสุวรรณ
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
คำสำคัญ: เมล่อน - - การปลูก
การควบคุมอัตโนมัติ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาระบบอัตโนมัติสำหรับควบคุมการปลูกเมล่อนในโรงเรือนโดยใช้ตัวควบคุมฟัซซี่ โดยที่ตัวควบคุมฟัซซี่ออกแบบจากข้อมูลที่ได้จากการทดลองปลูกเมล่อนในโรงเรือนด้วยผู้เชี่ยวชาญ ขั้นการพัฒนาระบบแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนหลัก คือ (1) การค้นหารูปแบบการให้น้ำและสภาพแวดล้อมในโรงเรือนที่เหมาะสม (2) การออกแบบตัวควบคุมฟัซซี่ (3) การพัฒนาแอพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนสาหรับควบคุมระยะไกล และ (4) การทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบ ในขั้นตอนการค้นหารูปแบบการให้น้ำที่เหมาะสม งานวิจัยนี้ได้กำหนดช่วงอายุของต้นเมล่อนออกเป็น 2 ช่วงอายุ คือ ช่วงอายุ 15-40 วัน และช่วงอายุ 40-80 วัน ในแต่ละช่วงอายุกาหนดรูปแบบการให้น้ำ 2 กรรมวิธี และทำการทดสอบการเจริญเติบโตของต้นเมล่อนจากการให้น้ำในแต่ละกรรมวิธีโดยการสังเกตจากค่าเฉลี่ยของ ขนาดยอด ความกว้างใบ ความยาวใบ และปริมาณคลอโรฟิลด์ในใบ ผลการทดลอง พบว่า ในต้นเมล่อนช่วงอายุ 15-40 วัน ใน 2 กรรมวิธีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญบนการทดสอบทางสถิติ Z-test ที่ระดับนัยความสำคัญ 0.005 และเมื่อพิจารณาต้นเมล่อนในช่วงอายุ 40-80 วัน ใน 2 กรรมวิธีก็มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญบนการทดสอบทางสถิติ Z-test ที่ระดับนัยความสำคัญ 0.005 เช่นกัน จากผลการทดสอบกรรมวิธีการให้น้ำดังกล่าวทาให้ได้กรรมวิธีที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการออกแบบตัวควบคุมฟัซซี่และใช้เป็นตัวควบคุมในระบบอัตโนมัติสำหรับการปลูกเมล่อน และในขั้นตอนท้ายสุด คือ การทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบด้วยการวัดค่าน้ำหนักและความหวานของผลผลิตเมล่อนที่ได้จากการปลูกด้วยระบบอัตโนมัติเปรียบเทียบกับผลผลิตที่ได้การปลูกด้วยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ จากผลการทดสอบ พบว่า ผลผลิตเมล่อนทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญบนการทดสอบทางสถิติ Z-test ที่ระดับนัยความสำคัญ 0.005 นั่นก็หมายความว่า ระบบอัตโนมัติสำหรับควบคุมการปลูกเมล่อนในโรงเรือนที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมานี้สามารถปลูกเมล่อนได้ไม่ต่างจากการปลูกด้วยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมานี้สามารถทำงานทดแทนแรงงานคนได้
รายละเอียด: งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้มหาวิทยาลัย เงินรายได้ส่วนงาน เงินกองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เลขที่สัญญา 05/2562
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4455
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย(Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_152.pdf3.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น