กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4439
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ความอยู่รอดจากการออกกลางคันของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A survival analysis of dropning out of undergaduate students, Burapha University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อริสฬา เตหลิ่ม
มหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักงานอธิการบดี
คำสำคัญ: การออกกลางคัน
การออกกลางคันในสถาบันอุดมศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาฟังก์ชันการอยู่รอด มัธยฐานระยะเวลา การอยู่รอด และอัตราเสี่ยงอันตรายของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา 2) เปรียบเทียบฟังก์ชันการอยู่รอดของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน 3) ศึกษาโมเดลของฟังก์ชันความเสี่ยงอันตรายของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี ที่เริ่มศึกษาปีการศึกษา 2557 หลักสูตร 4 ปี จำนวน 1,000 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary source) ซึ่งรวบรวมจากกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยประยุกต์ใช้การวิเคราะห์การอยู่รอดในการศึกษา ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพผู้ปกครอง รายได้ผู้ปกครอง เกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPA) และกลุ่มสาขาวิชา ผลการศึกษาพบว่า 1. จากการวิเคราะห์ตารางชีพ (Life Table) พบว่า ช่วงเวลาที่ 3 หรือภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 เป็นช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงสูงสุด โดยมีอัตราความเสี่ยงเท่ากับ 0.1078 และมีโอกาสอยู่รอดในการศึกษานานกว่าภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 เท่ากับ 85.92% และไม่สามารถแสดงมัธยฐานระยะเวลาการอยู่รอดได้ เนื่องจากยังไม่เกิดกรณีนิสิตจำนวนครึ่งหนึ่งออกกลางคันในช่วงเวลาที่ศึกษา 2. การเปรียบเทียบฟังก์ชันการอยู่รอด โดยใช้การวิเคราะห์ Kaplan-Meier และการทดสอบโดย Log-Rank Test พบว่า ตัวแปรที่ให้ผลการเปรียบเทียบฟังก์ชันการอยู่รอดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ เพศ อายุ เกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPA) และกลุ่มสาขาวิชา 3. การวิเคราะห์โมเดลของฟังก์ชันความเสี่ยงต่อการออกกลางคัน ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยของ Cox พบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงต่อการออกกลางคันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ เพศและเกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPA)
รายละเอียด: งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณกองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2562 เลขที่สัญญา R9/2562
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4439
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_145.pdf4.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น