กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4434
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorปิติวรรธน์ สมไทย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์th
dc.date.accessioned2022-06-16T04:37:58Z
dc.date.available2022-06-16T04:37:58Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4434
dc.descriptionทุนอุดหนุนโครงการผลิตผลงานสร้างสรรค์ / ออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี 2562th_TH
dc.description.abstractโครงการสร้างสรรค์ชุด “การทำความเข้าใจชีวิต : อะไรทำให้เราเป็นมนุษย์ : ไฟ และ ความเป็นแม่” นั้นมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้าการค้นพบไฟ การใช้ไฟแทนอำนาจ การใช้ไฟที่เชื่อมโยงไปสู่ความเป็นแม่ และการเชื่อมโยงสู่อำนาจใหม่ที่ไม่ต้องใช้ไฟ อำนาจที่มนุษย์ได้มาจากไฟ นั่นคือเวลาในการประดิษฐ์ภาษา และ วิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างอำนาจ (ไฟ) ความเป็นแม่ (อาหารและการกำเนิด) ไปสู่อำนาจ (ภาษา) ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ซึ่งนำพาไปสู่คำถามที่เชื่อมโยงไปสู่ความเชื่อของมนุษย์ ที่ความเชื่อทำให้เราเชื่อว่าเรามีความเป็นมนุษย์ เพื่อการตั้งคำถามถึงอำนาจของภาษา และความเชื่อของมนุษย์ที่เชื่อมโยงกับความเป็นมนุษย์ โดยนำมาสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ 3 มิติ จากการเก็บข้อมูลนั้น วิวัฒนาการได้ให้ข้อมูลหลายๆอย่างเกี่ยวกับมนุษย์ หนึ่งในสิ่งที่สำคัญ และทรงพลังได้แก่การค้นพบไฟ ซึ่งไฟนั้นเชื่อมโยงไปสู่ “อำนาจ” ถ้าใครควบคุมมันได้ แม้กระทั่งผู้หญิงที่เป็นผู้ให้ “กำเนิด” ในการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์สืบต่อไป ผู้หญิงใช้ไฟในการหุงหาอาหาร เพื่อเลี้ยงครอบครัว โดยเฉพาะบุตร การค้นพบไฟ และการใช้ไฟอย่างหลากหลายได้เปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตของมนุษย์ไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ก่อกำเนิด “ภาษา” ที่เป็นเครื่องมือที่ทรงอำนาจอีกอย่างหนึ่ง ภาษาเชื่อมโยงมนุษย์ไปสู่ความเชื่อ เรื่องเล่า และศาสนา ความเชื่อเป็นเครื่องมือในการสร้าง “ความจริงในจินตนาการ” ของมนุษย์ขึ้นมา ผู้ที่เล่าเรื่องได้สมจริงกว่าจะควบคุมคนอื่นๆได้มากกว่า ซึ่งนิสัยในการควบคุมสิ่งต่าง ๆ นั้นเป็นคุณสมบัติที่มนุษย์ทุกคนมี สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านี้อาจจะไม่เคยมีใครตั้งคำถามว่า “อะไร ทำให้เราเป็นมนุษย์” เพราะเราเป็นมนุษย์ และใช้ชีวิตด้วยความเป็นมนุษย์ตามความเคยชิน ข้าพเจ้าจึงใช้ผลงานสร้างสรรค์ทั้งสองชิ้น ได้แก่ชิ้นที่ 1. “ภาษา” และชิ้นที่ 2 “ความเชื่อ” เพื่อให้ผู้ชมผลงานได้ตั้งคำถามกับตนเองเกี่ยวกับความหมายของความเป็นมนุษย์ และที่สำคัญคือ อะไร ที่ทำให้เราเป็น มนุษย์ ผลที่ได้รับจากผู้ชมนิทรรศการได้สร้างรูปแบบความคิดโดยสรุปได้ดังนี้ เมื่อผู้ชมมองเห็น รูปลักษณ์ (สัญลักษณ์) การรับรู้ ความหมาย จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เนื่องจากสมองขี้เกียจตีความสิ่งที่เห็นบ่อย ๆ (ข้อมูลจากงานวิจัย) เมื่อรับรู้ความหมายได้แล้วจึงชั่งน้ำหนักเกี่ยวกับ คุณค่า ของสิ่งเหล่านั้น เมื่อประเมิณแล้วว่าคุณค่าของสิ่งที่เห็นนั้นต่ำกว่าตน ความอยากในการ ควบคุม ก็จะเกิดขึ้นทันที และจะพยายามควบคุมสิ่งที่เห็นให้ได้แม้จะมีอุปสรรคอย่างไรก็ตาม พฤติกรรมที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่จะประเมิน ความเป็นมนุษย์ ได้หรือไม่ คำถามที่เกิดขึ้นจากผลงานสร้างสรรค์ คงจะมีคำตอบปลายเปิดสำหรับแต่ละคน ซึ่งผลงานสร้างสรรค์ก็คงไม่สามารถตอบคำถามใด ๆในเรื่องนี้ได้ แต่เพียงแค่ผลงานสร้างสรรค์ได้กระตุ้นให้ผู้ชมแสดงพฤติกรรมของความเป็นมนุษย์ ออกมาได้ก็นับว่าเพียงพอแล้วth_TH
dc.description.sponsorshipคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectไฟth_TH
dc.subjectการดำเนินชีวิตth_TH
dc.subjectความเชื่อth_TH
dc.titleการทำความเข้าใจชีวิต : อะไรทำให้เราเป็นมนุษย์ : ไฟ และความเป็นแม่th_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailpitiwat@buu.ac.thth_TH
dc.year2562th_TH
dc.keywordสาขาปรัชญาth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_131.pdf126.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น