กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4432
ชื่อเรื่อง: | แนวทางในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุของภาคเอกชนเพื่อรองรับ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for hiring older workers of private sector for supporting the Eastern Economic Corridor |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กาณติมา พงษ์นัยรัตน์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ผู้สูงอายุ - - การจ้างงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการแรงงานผู้สูงอายุของภาคเอกชน ศึกษาแนวทางการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ รวมถึงเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุของภาคเอกชนในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก อันได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารในสายงานทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรภาคเอกชนจำนวนทั้งสิ้น ๑๗ คน (บริษัทละ ๑ คน) เครื่องมือที่ใช้คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) โดยใช้คำถามปลายเปิดสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในประเด็นความต้องการ แนวทางหรือมุมมองในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในแง่มุมต่าง ๆ โดยละเอียด รวมถึงข้อเสนอแนะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับแนวทางในการจ้างแรงงานสูงอายุ ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของไทยในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า ประเด็นด้านความต้องการจ้างแรงงานผู้สูงอายุของภาคเอกชน เห็นควรจ้างแรงงานผู้สูงอายุให้ทำงานต่อไป เนื่องจากเป็นแรงงานที่มีประสบการณ์ในการทำงานสูง สามารถช่วยพัฒนาองค์กรและบุคลากรได้เป็นอย่างดี และปัจจุบันแรงงานรุ่นใหม่ยังไม่สามารถเข้ามาเติมเต็มตลาดแรงงานได้ทัน ทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานไม่เพียงพอต่อความต้องการ ประเด็นต่อมาคือด้านจุดแข็งของแรงงานผู้สูงอายุที่มีอย่างหลากหลายทั้งการมีองค์ความรู้ ทักษะรอบด้านและประสบการณ์ที่ดีทั้งด้านบริหารและความชำนาญในวิชาชีพ จึงสามารถส่งต่อความรู้ต่าง ๆ ไปยังแรงงานรุ่นใหม่ ทำให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้แรงงานผู้สูงอายุเป็นผู้ที่เข้าใจวัฒนธรรมองค์กรและกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ เป็นอย่างดี รวมถึงเป็นผู้มีความรับผิดชอบและความอดทนต่อการทำงาน และที่สำคัญคือสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีโดยเฉพาะในสภาวะกดดัน สำหรับประเด็นจุดอ่อนที่แรงงานผู้สูงอายุจำเป็นต้องเร่งพัฒนาคือ ความเข้าใจในเทคโนโลยีซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นและสาคัญยิ่งในปัจจุบัน รวมถึงองค์ความรู้อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยสรุปคือแรงงานผู้สูงอายุควรเพิ่มทักษะการทำงานให้เป็นแบบ Multi Skill พยายามเพิ่มเติมองค์ความรู้เดิมให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น ประเด็นต่อมาคือด้านภาพรวมทางเศรษฐกิจ สังคม และระดับประเทศพบว่า การจ้างแรงงานผู้สูงอายุให้ทำงานต่อไปถือเป็นการส่งเสริมการสร้างรายได้ ช่วยให้ผู้สูงอายุไม่เป็นภาระต่อสังคมและภาครัฐในการดูแล นอกจากนี้ยังทาให้ห่างไกลโรคภัยบางประเภท เช่น โรคซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น ในประเด็นด้านปัญหาหรืออุปสรรคจากการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ พบว่าส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในเทคโนโลยีและบางท่านอาจยังยึดติดกับการทำงานรูปแบบเดิม ๆ ไม่เปิดรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ รวมถึงเรื่องสุขภาพที่อาจเป็นปัญหาในบางตำแหน่งงาน ประเด็นด้านการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุพบว่า ควรจัดหน้าที่งานให้เหมาะสมกับช่วงอายุหรือองค์ความรู้ที่มี โดยเน้นการทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ประเด็นสุดท้ายคือด้านรูปแบบและแนวทางในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในอนาคตเห็นว่าควรจ้างแรงงานผู้สูงอายุให้ทำงานต่อไป เนื่องจากเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทางานสูง พบเจอปัญหาและอุปสรรคมากมาย ผ่านกระบวนการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ มาแล้ว จึงถือเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหน้าที่ที่เหมาะสมจึงควรเน้นการเป็นที่ปรึกษา โดยต้องมีการกำหนดระเบียบการขยายเกณฑ์การเกษียณอายุอย่างชัดเจนเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน |
รายละเอียด: | สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4432 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_129.pdf | 1.96 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น