กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/442
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการบริหารงานของเทศบาลตำบลที่เปลี่ยนแปลงฐานะมาจากสุขาภิบาล: ศึกษากรณีจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The management problems of subdistrict municipolities upgraded from sanitation districts : a case study in Rayong, Chantaburi, and Trat
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพจน์ บุญวิเศษ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: การปกครองท้องถิ่น - - จันทบุรี
การปกครองท้องถิ่น - - ตราด
การปกครองท้องถิ่น - - ระยอง
การปกครองท้องถิ่น - - ไทย (ภาคตะวันออก)
เทศบาลตำบล
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2543
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในการบริหารงานของเทศบาลตำบลที่เปลี่ยนแปลงฐานะมาจากสุขาภิบาล วิธีการแก้ปัญหา ทัศนคติที่มีต่อการบริหารงานของเทศบาลตำบลและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติในการบริหารงานของเทศบาลตำบล ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ด้วยการใช้เครื่องทอถือ แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม จากผู้บริหารของเทศบาลตำบลรอบพื้นที่ 3 จังหวัด คือ จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด รวม 122 ราย แล้วนำมาวิเคราะห์และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารเทศบาลตำบลที่ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมดเป็นเพศชาย เป็นเทศมนตรีครึ่งหนุ้ง ที่เหลือเป็นปลัดเทศบาลและนายกเทศมนตรี และมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งไม่ถึง 1 ปี จบชั้นมัธยมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ สมรสแล้ว และเป็นหัวหน้าครอบครัว อาชีพหลักคือ เกษตรกรรมและค้าขาย กวง่า 60% มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-50,000 บาท ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการบริหารงานของเทศบาลตำบลที่เปลี่ยนแปลงฐานะมาจากสุขาภิบาล คือ ปัญหางบประมาณไม่เพียงพอ การขาดความรู้ความเข้าใจของคณะผู้บริหารโดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎหมาย ปัญหาด้านโครงสร้างและรูปแบบขององค์กรวึ่งเป็นระบบอุปถัมภ์ ทำให้การบริหารงานขาดประสิทธิภาพ ขาดความสามัคคีภายในหน่วยงาน ไม่ได้รับการกระจายอำนาจจากส่วนกลางอย่างแท้จริง ปัญหาด้านการบริหารงานซึ่งอำนาจในการบริหารและพัฒนาด้านต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับนายกเทศมนตรีหรือคณะเทศมนตรีซึ่งขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชน และไม่สามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถโดยเฉพาะด้านกฎหมาย ในส่วนของวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ผู้บริหารงานเทศบาลได้เสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาใน 3 ด้าน ไว้ดังนี้ ปัญหาด้านงบประมาณ ควรจัดสรรให้เพียงพอและเหมาะสม จัดทำแผนภาษีและจัดเก็บให้มีประสิทธิภาพ ใช้จ่ายงบประมาณอย่างประหยัดและมีประโยชน์สูงสุด และอบรมให้ความรู้ด้านการจัดการงบประมาณแก่เจ้าหน้าที่ ปัญหาเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจของคณะผู้บริหาร ควรจัดสัมมนาและทัศนศึกษาในหน่วยงานต่าง ๆ มีการปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จักทำคู่มือการปฏิบัติงาน และกำหนดคุณวุฒิของผู้บริหาร ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของผู้ร่วมงาน ควรจัดให้มีการอบรมให้เข้าใจในหน้าที่และบทบาท ชี้แจงเหตุของปัญหาและปรับความเข้าใจ ให้ความสำคัญและสามัคคีต่อกัน และจัดกิจกรรมเพื่อสรา้งเสริมความสัมพันธ์ ในประเด็นทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อการบริหารงานเทศบาลตำบล พบว่า ผู้บริหารมีทัศนคติในด้านลบมากกว่าด้านบวกต่อระเบียบ ข้อกฎหมาย และนโยบายจากส่วนกลาง โดยมีทัศนคติในด้านลบต่อ อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตาม พรบ. เทศบาล 2496 การกำหนดให้มีคณะกรรมการซึ่งทำหน้าที่ในการวางแผนพัฒนา ระบบการวางแผนที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ระเบียบการใช้จ่ายเงิน การกระจายอำนาจให้เทศบาลของกระทรวงมหาดไทย การจัดทำแผนที่ทะเบียนภาษีและทรัพย์สิน การกำหนดนโยบายจากส่วนกลางในส่วนของทัศนคติต่อฐานะการเงินการคลัง พบว่า เรื่องรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายไม่ใช่ปัญหาหลัก เพราะเทศบาลสามารถหาเงินอุดหนุนจากแหล่งต่าง ๆ ได้ และเห็นว่าการแบ่งสรรรายได้และการจัดสรรเงินงบประมาณให้เทศบาลมีความเหมาะสมดีแล้ว แต่อำนาจและขอบเขตในการจัดเก็บรายได้ยังไม่เหมาะสม สำหรับทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อกลไกการบริหารงานของเทศบาลพบว่า มีทัศนคติในด้านลบต่อระบบและกลไกการทำงานของสำนักปลัดเทศบาล หน่วยจัดเก็บภาษีการทำงานของฝ่ายวิชาการและแผนงานงบประมาณ อัตรากำลังที่มีอยู่พอเพียงต่อการปฏิบัติงานแต่ไม่มีคุณภาพ ศักยภาพและความรู้ความสามารถที่จะปฏิบัติงาน ในส่วนของทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อกลุ่มอิทธิพลและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ พบว่า ผู้บริหารมีทัศนคติที่เป็นลบ ซึ่งไม่ได้ให้ความสำคัญกับกลุ่มเหล่านี้ในการบริหารงานเทศบาล สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติในการบริหาร ได้แก่ ระดับการศึกษา อาชีพก่อนได้รับตำแหน่ง ตำแหน่งในปัจจุบัน อาชีพหลัก รายได้ สภาพครอบครัว และการดำรงตำแหน่งทางการเมืองก่อนได้รับตำแหน่งในปัจจุบัน ส่วนตัวแปรนอกนั้น ไม่มีความสัมพันธ์แต่อย่างใด This survey research aimed to study the management problems and the suggested solutions of administrators of municipalities upgraded from sanitation districts, their attitudes toward and factors related to administration. The instrument was a field questionnaire and the data were collected from 122 municipal administrators in Rayong, Chantaburi, and Trat, and then computer-analyzed. The majority of those answered the questionnaires were male, married, with administrative experience of at least one year, and hold secondary school education, of which half were municipal councilors and the rest were municipal permanent secretaries and majors. Their main careers were agriculyural and trading based. Over 60% had an average income between 10,000-50,000 baht per month. The survey revealed the following problems: inadequate budget; lack of understanding and knowledge of administrators particularly on legal affairs; structural problems and the patronage system, which affected municipal management, unity, actual decentralization from the central authority; lack of truly understraning of local government administration in the parts of majors and municipal committee, which rendered lacks of local participation, reliable inspection, and personnel particularly those on legal affairs. The solutions for the three main problem areas were as follows: 1. That on budget: appropriate budget allocation, having efficient tax mapping and collection, efficient budget spending, and providing personnel training on budget management; 2. That on understanding and knowledge of administrators: provision of seminars and study-tours, consulting and exchange of ideas, creating work manual and specification of administrator's qualification; 3. That of relation with municipal colleagues: having seminar on municipal role and responsibility; identifying and discussion of problems, acknowledgement of each other and building unity as well as setting unity- building activities. In the aspect of attitudes towards municipal administration, the study revealed more of negative attitudes towards regulation, legal issues, and policies from central authority, in the areas of municipal authorith according to Municipal Act, B.E. 2496, regulating development plan committee, planing system as specified in the annual budget planning, budget spending regulations, and decentralization from the Ministry of Interior, tax and property registration. In terms of attitudes toward municipal financial status, the administrators perceived the imbalance of municipal spending and income as insignificant since substitution income could be sought from other sources. They were found to be satisfied with budget allocation, but dissatisfied with the authority and limitation for income recruitment. The study revealed the negative attitudes toward the working mechanisms and system of permanent secretary offices, tax collection unit, and performance of technical and budget planing units, inefficiency of municipal personnel. Negative attitudes toward the privilege and interest groups, were also revealed in the study. The survey also revealed factors relevant to attitude toward municipal administration, which were educational background, occupation prior to assuming the administrative position, present position, principal career, income, family status, and political position prior to assuming the present position position. Other factors were found non-relevant.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/442
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น