กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4414
ชื่อเรื่อง: | ความวิตกกังวลกับคุณภาพการนอนในมหาวิทยาลัยบูรพา ประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๒ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Depression and Insomnia in Burapha University, Thailand 2019 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ฐิตินันท์ เอื้ออำนวย ยุทธภูมิ มีประดิษฐ์ พงศ์พันธุ์ สุริยงค์ กฤตภาส กังวานรัตนกุล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความวิตกกังวล การนอนหลับ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | วัตถุประสงค์: 1. เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการนอน กับ ภาวะซึมเศร้า ระหว่างอาจารย์ นิสิต และพนักงาน ของมหาวิทยาลัยบูรพา 2. เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการนอน กับภาวะซึมเศร้า ระหว่างชายกับหญิง ของมหาวิทยาลัยบูรพา 3. เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้ากับคุณภาพการนอน 4. สำรวจการใช้ยาช่วยในการนอนกับยาลดภาวะซึมเศร้าที่มหาวิทยาลัยบูรพา วิธีวิจัย: การวิจัยภาคตัดขวางระยะสั้นแบบสำรวจที่มหาวิทยาลัยบูรพาเมื่อ พศ. 2562. บุคลากรของมหาวิยาลัยบูรพาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ อาจารย์ นิสิต และ พนักงาน กลุ่มตัวอย่าง 243 คน คำนวณจากตาราง Jacob Cohen หน้า 384 เมื่อ α =0.05, β=0.20, power=0.80, effect size=0.20, ได้ตัวอย่างกลุ่มละ 81 คน, สุ่มแบบโควต้า, เครื่องมือที่ใช้คือ Pittsburgh sleep quality index (PSQI) เป็นแบบสอบถามที่ให้ตอบเองเพื่อวัดคุณภาพการนอนและสิ่งรบกวน 2 สัปดาห์ แบบสอบถามมี 7 มิติ ประกอบด้วย 19 ตัวแปร, ภาวะซึมเศร้าวัดโดย Hamilton Depression Rating Scale (HAM-D), ผลการวิจัย 243 คน (100%) ตอบแบบสอบถามอย่างสมบูรณ์, ค่า Cronbach’s Alpha ของ PSQI และ HAM-D วัดได้ 0.74 และ 0.78 ตามลำดับ, หญิง 142 คน (58.44%) ชาย 101 (41.66%) คน, คะแนนเฉลี่ยของคุณภาพการนอนของ อาจารย์ นิสิต และ พนักงาน คือ 6.78>6.74>6.50 ตามลำดับ ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.124, ANOVA). แต่คะแนนคุณภาพการนอนของทั้ง 3 กลุ่ม >5, แปลว่า นอนไม่หลับอย่างอ่อน. คะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้าของ อาจารย์ นิสิต และ พนักงาน คือ 7.43>7.10>6.46 (p=0.174, ANOVA),ภาวะซึมของทั้ง 3 ลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่มีคะแนน >7, ทั้ง 3 กลุ่มมีภาวะซึมเศร้าอย่างอ่อน, คะแนนเฉลี่ยของคุณภาพการนอนของ หญิงกับชาย คือ 6.47>6.14 (p=0.047* ANOVA). ชายมีคุณภาพการนอนดีกว่าหญิง อย่างมีนัยสำคัญ แต่คะแนนคุณภาพการนอนของทั้งชายและหญิง >5, แปลว่า ทั้งสองเพศนอนไม่หลับอย่างอ่อน, คะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้าของ หญิงกับชาย คือ 7.71>6.12. (p=0.023* ANOVA), หญิงมีภาวะซึมเศร้ามากกว่าชายอย่างมีนัยสำคัญ แต่ทั้งสองเพศมีคะแนน >7, ทั้งหญิงและชายมีภาวะซึมเศร้าอย่างอ่อน. Pearson’s Correlation พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญในทางบวกระหว่างภาวะซึมเศร้ากับคุณภาพการนอน (P=0.024*, r=+0.536, R2=0.287). ยิ่งซึมเศร้ายิ่งนอนไม่หลับ, ยาที่ช่วยในการนอนที่ใช้มากสามชนิด ได้แก่ Lorazepam 0.5 มก., Lorazepam 1 มก., และ Clonazepam 0.5 มก. มีการใช้ยาเหล่านี้ 4.45%, 2.06% และ 65% ตามลาดับ ยาที่ช่วยลดภาวะซึมเศร้าที่ใช้มากสามชนิดได้แก่ Amitriptyline 10 มก., Fluoxetine 20 มก. และ Clonazepam 0.5 มก. สรุป คุณภาพการนอน กับภาวะซึมเศร้าของอาจารย์ นิสิต และพนักงานในมหาวิทยาลัยบูรพาไม่แต่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ คุณภาพการนอนชาย ดีกว่าหญิง ส่วนหญิงมีภาวะซึมเศร้ามากกว่าชาย, ภาวะซึมเศร้ากับคุณภาพการนอนกับมีความสัมพันธ์กันในทางบวก ยิ่งซึมเศร้ายิ่งนอนไม่หลับ |
รายละเอียด: | โครงการวิจัยประเภททุนอุดหนุนการวิจัย งบประมาณเงินรายได้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4414 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_111.pdf | 2.98 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น