กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4399
ชื่อเรื่อง: | โครงการวิจัยเรื่องระบบตรวจสอบสถานะอุณหภูมิและความชื้นห้องเซิร์ฟเวอร์ด้วย IoT |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Temperature and Humidity Monitoring System in Server Room Using IoT |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เจตนันต์ เจือจันทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักคอมพิวเตอร์ |
คำสำคัญ: | โปรแกรมประยุกต์ การควบคุมอัตโนมัติ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่องนี้นำเสนอการพัฒนาระบบ IoT ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นของห้องเซิร์ฟเวอร์ผ่านระบบเครือข่าย สามารถเฝ้าติดตาม และจัดการการแจ้งเตือน ผ่าน Dashboard Monitoring Systems ระบบ IoT ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย IoT Device จำนวน 10 ชุด โดย IoT Device แต่ละตัวประกอบด้วย Microcontroller (MCU) แบบ ESP8266 จอแสดงผลขนาดเล็กแบบ OLED เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นแบบ DHT (DHT22 จำนวน 8 ชุด และ DHT11 จำนวน 2 ชุด) ติดตั้งในห้องเซิร์ฟเวอร์ 3 ห้อง การส่งข้อมูลในระบบ IoT ที่สร้างขึ้นใช้ โพรโทคอล MQTT ผ่านเครือข่ายไร้สาย Wi-Fi ส่งข้อมูลไปที่ MQTT broker ใน IoT Server จากนั้นทำการแปลงข้อมูลไปเก็บไว้ที่ Time Series Database ของ IoT Server แล้วแสดงผลที่ Dashboard Monitoring Systems ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าระบบสามารถเก็บข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นจากอุปกรณ์ IoT Device ในห้องเซิร์ฟเวอร์ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา แล้วแสดงผลแบบ Data Visualization ผ่านเว็บบราวเซอร์ (http://dcr-sensor.buu.ac.th) เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์อุณหภูมิและความชื้น หากค่าอุณหภูมิและความชื้นของห้องเซิร์ฟเวอร์ มีค่าเกินจุดวิกฤตที่ได้กำหนดไว้ ระบบ IoT ที่พัฒนาสามารถทำการแจ้งเตือนผ่าน Email, Line และ Microsoft Teams ของผู้ดูแลระบบได้ ช่วยลดภาระหน้าที่ และความผิดพลาดของข้อมูลจากการจัดเก็บข้อมูลด้วยการจดบันทึกลงเอกสารกระดาษได้ สามารถลดงบประมาณในการจัดซื้อระบบตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้นห้องเซิร์ฟเวอร์ได้ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัยพบว่า เนื่องจากห้องเซิร์ฟเวอร์ของสำนักคอมพิวเตอร์ไม่ได้ใช้ระบบปรับอากาศแบบควบคุมความชื้น (Precision Air Condition System) โดยเฉพาะตามแบบ Data Center มาตรฐานทั่วไป ดังนั้นควรใช้จำนวน IoT Device ที่มีจำนวนมากกว่านี้ เพื่อนำข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นที่ได้มาตรวจสอบ วิเคราะห์ประสิทธิภาพของสภาพแวดล้อมห้องเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างละเอียดมากขึ้น |
รายละเอียด: | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เลขที่สัญญา 002/2562 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4399 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_095.pdf | 10.74 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น