กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4394
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสารสกัดจากข้าวกล้องข้าวเหนียวดำและข้าวกล้องข้าวเหนียวสังข์หยดต่อการลดการอักเสบในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดนิ่วในไต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study the effect of unpolished black sticky rice and unpolished sungyod sticky rice extracts on anti-inlalmmation in kidney stone forming rat
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปริญญาพร หนูอุไร
วิทูร ขาวสุข
ทิษฏยา เสมาเงิน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
คำสำคัญ: นิ่วไต
สารสกัดจากพืช -- การวิเคราะห์
ข้าวกล้อง -- วิจัย
ข้าวเหนียว
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารสกัดจากข้าวกล้องข้าวเหนียวดำและข้าวกล้องข้าวเหนียวสังข์หยดต่อการลดการอักเสบและพยาธิสภาพในเนื้อเยื่อไตในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดนิ่วในไต การทดลองใช้หนูแรทเพศผู้ แบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุมเป็นหนูที่ให้อาหารและน้ำปกติ ไม่มีการเหนี่ยวนำให้เกิดนิ่วในไต กลุ่มที่ 2 หนูถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะนิ่วในไต โดยการให้ดื่มน้าปกติเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และดื่มน้ำที่ผสมกับ 0.5% ethylene glycol (EG) (v/v) อีกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ กลุ่มที่ 3 เป็นหนูที่กิน potassium citrate ปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นดื่มน้ำที่ผสมกับ 0.5% EG 2 สัปดาห์ กลุ่มที่ 4 และ 5 เป็นกลุ่มที่ให้หนูกินสารสกัดจากข้าวกล้องข้าวเหนียวดาและข้าวกล้องข้าวเหนียวสังข์หยดตามลำดับ ปริมาณ 200 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นดื่มน้ำที่ผสมกับ 0.5% EG 2 สัปดาห์ โดยทุกสัปดาห์จะทำการเก็บน้ำปัสสาวะมาหาค่า pH และปริมาณผลึก COM เก็บตัวอย่างเลือดเลือดมาหาค่า BUN และ creatinine เก็บเนื้อเยื่อไตเพื่อนำมาศึกษาพยาธิสภาพด้วยวิธีการย้อมสี H&E ศึกษาตำแหน่งและปริมาณการแสดงออกของ MCP-1 IL-6 และ TGF- ด้วยวิธี immunohistochemistry และ Western immunoblotting ผลของค่า pH ในน้ำปัสสาวะของหนูแต่ละกลุ่มพบว่า หนูกลุ่มที่ได้รับ potassium citrate หนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัดข้าวกล้องข้าวเหนียวดำและข้าวกล้องข้าวเหนียวสังข์หยดมีค่า pH เพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ 3 (p<0.05) และมีค่า pH ลดลงจนมีค่าใกล้เคียงกับค่า pH ก่อนการทดลองในสัปดาห์ที่ 4 และมีปริมาณผลึก COM น้อยและไม่เปลี่ยนแปลงมากนักในแต่ละสัปดาห์ ส่วนหนูกลุ่มที่ได้รับสารเอทิลีนไกลคอลเพียงอย่างเดียวมีค่า pH ลดลง และมีปริมาณผลึก COM ในน้าปัสสาวะเพิ่มสูงขึ้น (p<0.05) ส่วนค่า BUN และ creatinine ในหนูทุกกลุ่มจะอยู่ในเกณฑ์ปกติเมื่อเปรียบเทียบกับ ค่า BUN และ creatinine อ้างอิง พบลักษณะพยาธิสภาพเนื้อเยื่อไตของหนูกลุ่มที่ได้รับสารเอทิลีนไกลคอลเพียงอย่างเดียวเกิดพยาธิสภาพรุนแรงที่สุด โดยพบเยื่อบุท่อไตส่วนปลายขยายขนาดใหญ่ขึ้น มีเส้นผ่านศูนย์กลางของ lumen กว้าง และมีความหนาของผนังลดลง มีการเปลี่ยนแปลงชนิดของเซลล์เยื่อบุ และนิวเคลียสติดสีเข้มขึ้น นอกจากนี้พบแถบโปรตีนที่มีคุณลักษณะคล้าย MCP-1 และ IL-6 น้ำหนักโมเลกุลประมาณ 11 และ 21kDa ตามลำดับและพบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับเอทิลีนไกลคอลเพียงอย่างเดียวมีการแสดงออกของโปรตีน MCP-1 และ IL-6 เพิ่มขึ้น ส่วนกลุ่มที่ได้รับสารสกัดข้าวกล้องข้าวเหนียวดำและข้าวกล้องข้าวเหนียวสังข์หยดพบการแสดงออกของ MCP-1 ลดลง เช่นเดียวกับการให้สาร potassium citrate และไม่พบการแสดงออกของ TGF-β ในเนื้อเยื่อไตของทุกกลุ่มการทดลอง การทดลองแสดงให้เห็นว่าสารสกัดข้าวกล้องข้าวเหนียวดำและข้าวกล้องข้าวเหนียวสังข์หยดสามารถลด cytokine ที่ก่อให้เกิดการอักเสบและพยาธิสภาพในเนื้อเยื่อไตในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดนิ่วในไตได้
รายละเอียด: ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ 2562 คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4394
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_089.pdf1.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น