กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4381
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ยศพล จิระวุฒิ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2022-05-23T04:51:34Z | |
dc.date.available | 2022-05-23T04:51:34Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4381 | |
dc.description | สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.description.abstract | จากรายงาน Global Climate Risk Index 2021 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ผลกระทบมากที่สุดจากภาวะสภาพอากาศแบบสุดขั้วในช่วงปี ค.ศ. 2000-2019 เช่น คลื่นความร้อน ปริมาณฝนตกแบบสุดขั้ว อุทกภัยบริเวณชายฝั่งทะเล เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถูกคาดการณ์ว่าจะเพิ่มเหตุการณ์ภาวะสภาพอากาศแบบสุดขั้ว รายงานการศึกษานี้สนใจบทบาทของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการเป็นสมาชิกแนวร่วมเจรจาในกระบวนการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) และสมาคมสภาพภูมิอากาศ ซึ่งหมายถึงกลุ่มของตัวแสดงระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลิตสินค้าสมาคมหรือประโยชน์เฉพาะสมาชิก งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้สัมภาษณ์คือเจ้าหน้าที่รัฐผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ และ/หรือ การปฏิบัติงานร่วมกับสถาบันระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องประเทศไทยเป็นสมาชิกของแนวร่วมเจรจา 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 77 และจีน (G-77 and China) กลุ่มประเทศพันธมิตรป่าเขตร้อน (CfRN) และกลุ่มเจรจาด้านการเกษตรของอาเซียน (ANGA) บทบาทพื้นฐานของประเทศไทยในฐานะสมาชิกคือ การแสดงทัศนะในการประชุมประสานงานของกลุ่ม ประเทศไทยมีบทบาทเพิ่มขึ้นในปี ค.ศ. 2016 ในฐานะประธานของกลุ่ม 77 และจีน โดยเป็นผู้แทนของกลุ่มในการประชุมต่าง ๆ และประสานงานการเจรจาของกลุ่ม ประเทศไทยมีส่วนร่วมในการก่อตั้ง ANGA และจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มสมรรถนะของผู้เจรจาจากอาเซียนและอื่น ๆ ที่สนใจ นอกแนวร่วม ประเทศไทยมีบทบาทเดี่ยวโดยการแสดงข้อคิดเห็นในระหว่างการประชุมดังที่เห็นจากภาคป่าไม้และตลาดคาร์บอน และไม่จำเป็นต้องเสนอท่าทีร่วมกับแนวร่วมที่ตนเป็นสมาชิกเท่านั้น จากการศึกษาสถาบันระหว่างประเทศ 7 สถาบันที่จัดเป็นสมาคมสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ปฏิญญานครนิวยอร์กว่าด้วยป่าไม้ กองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ ทบวงพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ ทบวงพลังงานระหว่างประเทศ องค์กรหุ้นส่วนพลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพพลังงาน ความร่วมมือเรื่องสภาพภูมิอากาศและอากาศสะอาด และพันธมิตรนานาชาติการวิจัยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตร ประเทศไทยมีบทบาทในฐานะผู้เข้าร่วม โดยเข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ เป็นประจำเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและผลงาน และดำเนินโครงการร่วมกับสถาบันหรือได้รับการสนับสนุนทางการเงินหรือผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเหล่านั้น ประเทศไทยมีหรือเคยมีบุคลากรทำหน้าที่ผู้บริหารของกองทุนหุ้นส่วนคาร์บอนป่าไม้ และองค์กรหุ้นส่วนพลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพพลังงาน ซึ่งแสดงศักยภาพของบุคลากรไทยในการบริหารงานระดับระหว่างประเทศ | th_TH |
dc.description.sponsorship | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ภูมิอากาศวิทยา | th_TH |
dc.subject | การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ | th_TH |
dc.title | บทบาทของประเทศไทยในแนวร่วมเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสมาคมสภาพภูมิอากาศ | th_TH |
dc.title.alternative | Thailand’s Roles in Climate Change Negotiating Coalitions and Climate Clubs | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | y.chirawut@outlook.com | th_TH |
dc.year | 2564 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | According to the Global Climate Risk Index 2021, Thailand was among the world’s most affected countries by extreme weather events (such as heat wave, extreme precipitation, and coastal flooding) from 2000 to 2019. Such events are expected to increase in frequency and intensity due to climate change. This study focuses on Thailand’s roles in tackling climate change as a member of negotiating coalitions which take part in climate change conferences under the United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) and as a member of “climate clubs.” Climate clubs refer to groups of international actors which make efforts to address climate change, as well as provide “club goods” or members’ exclusive benefits. This study uses qualitative methods, which are documentary research and in-depth interview. Interviewees were government officials responsible for climate change negotiations and/or coordinating with relevant international institutions. Thailand is a member of three negotiating coalitions: the Group of 77 and China (G-77 and China), the Coalition for Rainforest Nations (CfRN), and the ASEAN Negotiating Group on Agriculture (ANGA). Thai negotiators participate in coordination meetings of each group, and express the country’s position. As the chair of the G-77 and China in 2016, Thailand played a more prominent role as a representative of the group in various meetings, and coordinated the group’s negotiation. With regards to the ANGA, Thailand was involved in its establishment and helped organise a training workshop for ASEAN negotiators and other parties. It should be noted that Thailand need not express views only as part of negotiation coalitions. This is shown clearly by Thai negotiators’ actions in forest and carbon market sectors of the UNFCCC negotiation. This study examines seven international institutions which are qualified as climate clubs: the New York Declaration on Forests (NYDF), the Forest Carbon Partnership Facility (FCPF), the International Renewable Energy Agency (IRENA), the International Energy Agency (IEA), the Renewable Energy and Energy Efficiency Partnership (REEEP), the Climate and Clean Air Coalition to Reduce Short-Lived Climate Pollutants (CCAC), and the Global Research Alliance on Agricultural Greenhouse Gases (GRA). Thailand regularly participated in various meetings of these institutions to exchange views and work progress. Thailand also carried out projects in cooperation with those institutions, or received financial or experts’ support from them. In the FCPF and the REEEP, Thai officials have held executive positions, which demonstrated their capabilities on the international stage. | en |
dc.keyword | สาขาสังคมวิทยา | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_077.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น