กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4379
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorพัชราภา ตันตราจิน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์th
dc.date.accessioned2022-05-23T03:58:44Z
dc.date.available2022-05-23T03:58:44Z
dc.date.issued2564
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4379
dc.descriptionสนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.description.abstractงานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานกิจกรรมการใช้ประโยชน์ด้าน เศรษฐกิจทางทะเลของพื้นที่ศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียของกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลร่วมกัน และ 3) เพื่อสังเคราะห์กลไกการจัดการผลประโยชน์การใช้พื้นที่ทางทะเลร่วมกันของชุมชน ศึกษากรณี พื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านมดตะนอย หมู่ที่ 4 บ้านบาตูปูเต๊ะ หมู่ที่ 5 บ้านหลังเขา หมู่ที่ 6 บ้านเจ้าไหม ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ผลการศึกษาพบว่า มีกิจกรรมเศรษฐกิจที่สาคัญ 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมการทำการประมง กิจกรรมการท่องเที่ยวกับทั้งกิจกรรมสืบเนื่องจากการท่องเที่ยว และกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งซึ่งดำเนินการควบคู่ไปกับกิจกรรมประมงและท่องเที่ยวโดยการทำการประมงเป็นอาชีพหลัก กิจกรรมการท่องเที่ยวและกิจกรรมสืบเนื่องจากการท่องเที่ยวเป็นอาชีพเสริม กิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลมีความสัมพันธ์กับการทำการประมงและการท่องเที่ยว คือ การทำการประมงเป็นไปเพื่อการดำรงชีพของชุมชนเป็นสำคัญ ในขณะเดียวกันการอนุรักษ์สัตว์ทะเลก็สอดคล้องกับผลประโยชน์กิจกรรมการท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นรายได้เสริมที่สำคัญของชุมชน และการมีสัตว์น้ำหมุนเวียนจากการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลก็ช่วยให้การทำการประมงเกิดความยั่งยืน กิจกรรมทางทะเลและชายฝั่งนั้นจึง ผลักดันหนุนเสริมกันในเชิงบวก ผลประโยชน์ตกอยู่กับคนภายในชุมชนเป็นหลัก มีกลไกการจัดการ ผลประโยชน์สามลักษณะคือ 1) การจัดการโดยชุมชน นำโดยเครือข่ายผู้นาชุมชน คือ กติกาชุมชน วิถี วัฒนธรรมชุมชน 2) การจัดการร่วมระหว่างรัฐกับชุมชน เช่น การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในทะเล และ 3) การจัดการโดยรัฐ ผ่านกฎหมาย เช่น กฎหมายประมง กฎหมายการใช้พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า กลไกขับเคลื่อนสำคัญคือ ความร่วมมือชุมชนที่มีพัฒนาการมาจากกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรทะเลในอดีต เป็นกลไกที่รัฐมิได้สร้างขึ้นมา แต่มาจากร่วมกันสร้างกระบวนการระหว่างชุมชนกับองค์กรพัฒนาเอกชน มีการประสานงาน และการทำงานเป็นเครือข่าย มีการเรียนรู้ร่วมกัน ลดข้อขัดแย้งระหว่างกันของคนในชุมชน ต่อมาได้เปิดให้รัฐเข้ามาร่วม เกิดการประสานงานร่วมกันระหว่างรัฐกับชุมชนในการทำกิจกรรมต่าง ๆth_TH
dc.description.sponsorshipคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectความขัดแย้งระหว่างบุคคลth_TH
dc.subjectทรัพยากรทางทะเลth_TH
dc.titleกลไกและกระบวนการจัดการผลประโยชน์ของชุมชนในพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง ที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลากหลายth_TH
dc.title.alternativeBenefit Management Process and Mechanism for Community in Marine and Coastal Area with Various Economic Activitiesen
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailtun007_11@hotmail.comth_TH
dc.year2564th_TH
dc.description.abstractalternativeThis research study aims to 1) collect basic data on marine economic utilizations in the area studied 2) analyze the relations between stakeholders utilizing and sharing marine economy in the same area and 3) synthesize co-mechanism managing marine profits of the communities studied. The research areas consisting of Modtanoi village (Moo 3), Batu Putae village (Moo 5), Langkhao village (Moo 6), and Jaomai village of KohLibong subdistrict, Kantang district, Trang province. The research study found that there are two economic activities-- fishing, tourism and activities related to tourism and coastal, and marine resource conservation -- coincide and related to one another. While fishing is the main occupation, tourism and related activities are the additional ones. Also, activities on marine resource conservation are related to fishing and tourism as it helps increase circulating marine animals and promote sustainable fishing. Moreover, the conservation enhances tourism which has been important source of income of the communities. Therefore, the marine and coastal activities help support one another positively and then the benefit will mainly belong to people in the communities. There are three mechanisms in managing benefit: 1) community management led by the network based on community’s regulations and leaders 2) co-management between state and communities such as zoning of marine usage and 3) state management through laws such as fishing laws, land usage laws in reserved areas. The main driving mechanism is community cooperation that has evolved from past marine resource conservation activities. It is a mechanism that the state has not built, but it comes from the process built together in the communities with NGOs, coordinated and worked as a network. This helps provide shared learning and reduces conflict between people in the communities. Later on, it has opened to the state to join creating coordination between the state and the community in various activitiesen
dc.keywordสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_073.pdf7.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น