กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4373
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาและทดสอบอุปกรณ์วัดองศาการเคลื่อนไหวข้อต่อ เพื่อคัดกรองและติดตามภาวะข้อติดด้วยตัวเอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development and Testing of Range of Motion Tool for Self-Screening and Monitoring of Joint Stiffness |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์ สราวุธ เวชกิจ นงนุช ล่วงพ้น พรลักษณ์ แพเพชร์ เสือโต ฉวีวรรณ ธงเจริญ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์ |
คำสำคัญ: | นวัตกรรมโกนิมิเตอร์ ข้อต่อ - - โรค กายภาพบำบัด การเคลื่อนไหว |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมอุปกรณ์วัดองศาการเคลื่อนไหวข้อต่อเพื่อคัดกรองและติดตามภาวะข้อติดด้วยตัวเอง ที่มีลักษณะพิเศษคือผู้ใช้งานสามารถใช้ได้เอง ใช้ง่าย อ่านและแปลผลได้เองทันที สามารถบอกการเปลี่ยนแปลงองศาการเคลื่อนไหวเพื่อรายงานต่อผู้ให้การรักษาได้ และสามารถตรวจการเคลื่อนไหวข้อต่อรยางค์ทั้งบนและล่างได้ โดยสามารถตรวจองศาการเคลื่อนไหวทุกทิศทางหลักของข้อต่อเหล่านั้น โดยดำเนินการศึกษา ออกแบบ ประดิษฐ์ ทดสอบ และปรับปรุงการประดิษฐ์นวัตกรรม และทดสอบความเที่ยงตรงและความแม่นยำภายในและระหว่างผู้วัด (concurrent validity, intra-rater and interrater reliability) ในการวัด standardized angle โดยเปรียบเทียบกับ goniometer และ inclinometer ในนักวิจัยที่เป็นนักกายภาพบำบัด 3 คน และศึกษาความพึงพอใจของนักกายภาพบำบัดต่อการใช้งาน ผลการศึกษาพบว่า BUU ROM test kit: self-assess goniometry ที่ประดิษฐ์ขึ้นจากการศึกษานี้ มีส่วนประกอบได้แก่ แผ่น calibrate ซึ่งมีส่วนยึดติดกับผู้ใช้ทางด้านหลัง แผ่นตรวจ/ แปลผลซึ่งมีสเกลองศาและแถบสีซึ่งสัมพันธ์กับค่าองศาการเคลื่อนไหวปกติของแต่ละทิศทางการเคลื่อนไหวของข้อต่อ โดยในชุดมี 4 แผ่นสำหรับตรวจ ข้อใหล่ ข้อศอก-ข้อมือ ข้อสะโพก ข้อเข่า-ข้อเท้า และแผ่นอ่านผลซึ่งมี weighted pendulum indicator ติดอยู่ ทั้ง 3 แผ่นเชื่อมกันที่จุดกึ่งกลางด้วยแกนหมุน (axis) ซึ่งสามารถปรับให้หลวมเมื่อตรวจและปรับให้แน่นเมื่อวัดองศาแล้วหรือจัดเก็บ ทำให้อุปกรณ์มีคุณสมบัติวัดองศาการเคลื่อนไหวข้อต่อได้โดยใช้สามารถใช้ได้เอง ใช้ง่าย อ่านและแปลผลได้เองทันทีจากภาพและแถบสี ด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) เลือกแผ่นตรวจ (2) ติดตั้งอุปกรณ์เข้ากับร่างกาย (3) ตั้งค่า 0 เมื่ออยู่ในท่าเริ่มต้น และ (4) อ่านและแปลผลเมื่อเคลื่อนไหวสู่ท่าสุดท้าย อุปกรณ์สามารถบอกการเปลี่ยนแปลงองศาการเคลื่อนไหวจากสเกลองศาหรือสเกลแถบสีเพื่อรายงานต่อผู้ให้การรักษาได้ การทดสอบประสิทธิภาพในการวัด standardized angle พบ Intra-rater reliability ของผู้วัดทั้ง 3 คนมีค่า ICC=0.996-1.000 Inter-rater reliability ของการวัดทุกช่วงองศาการเคลื่อนไหวมีค่า ICC=0.994-0.999 concurrent validity ของการวัดทุกช่วงองศาการเคลื่อนไหวมีค่า ICC=0.997-1.000 เมื่อเทียบกับ universal goniometer และ inclinometer ค่า 95%CI of limit of agreement อยู่ในช่วง -4.535 ถึง 4.196 องศา ระดับความพึงพอใจต่อการใช้งานของนักกายภาพบำบัด 4.87/5 ดังนั้น BUU ROM test kit มี Intra-rater reliability และ Inter-rater reliability อยู่ในระดับสูงมาก มี concurrent validity ในระดับ reasonable validity โดยความคาดเคลื่อนเป็นระดับที่ยอมรับได้ทางคลินิก จึงสามารถนำมาใช้แทน universal goniometer หรือ inclinometer ในทางคลินิกเพื่อใช้คัดกรองและติดตามภาวะข้อต่อติดด้วยตัวเองได้ อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นข้อมูลในการใช้งานทางคลินิกควรมีการศึกษาปริมาณความคาดเคลื่อนที่เกิดจากปัจจัย patient-specific เพิ่มเติมต่อไป |
รายละเอียด: | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4373 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_064.pdf | 1.64 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น