กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4372
ชื่อเรื่อง: การจัดการภาคีสาธารณะเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมกับความสำเร็จในการแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของประชาชนในจังหวัดสระแก้ว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: New Public Governance management to reduce social disparity and success in solving the problems of living and eating land of people in Sa Kaeo Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นงนุช ศรีสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: ความเหลื่อมล้ำทางสังคม
การใช้ที่ดิน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของประชาชนในจังหวัดสระแก้วในรูปแบบของภาคีสาธารณะแบบใหม่ และศึกษาความสำเร็จในการแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของประชาชนในจังหวัดสระแก้วเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เกิดจากการจัดการภาคีสาธารณะ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นการนำบทสรุปจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ทรงคุณวุฒิหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รับผิดชอบด้านที่ดิน ที่ทำกินที่อยู่อาศัย ชุมชนท้องถิ่น เช่น ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และคณะกรรมการชุมชน และภาคีอื่น ๆ เช่น สภาองค์กรชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชน และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) แล้วนำผลการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหา คัดกรอง ดึงข้อมูลออกมา หลอมรวมและบูรณาการ กับการสังเคราะห์องค์ความรู้จากการเอกสารงานวิจัย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อสรุปเป็นประเด็นที่สำคัญเพื่อตอบคำถามการวิจัยที่ตั้งไว้ เพื่อสรุปเป็นประเด็นที่สำคัญเพื่อตอบคำถามการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาของประชาชนในจังหวัดสระแก้ว คือปัญหาในเรื่องการถือครองที่ดินของประชาชนและการออกเอกสารสิทธิ์ส่งผลให้ประชาชนในท้องที่จังหวัดสระแก้ว ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ต้องประสบกับปัญหา และขาดโอกาสในการเข้าถึงสิทธินานาประการ และพบว่า ความต้องการของประชาชน คือ การปฏิรูปที่ดินดำเนินการไปอย่างรวดเร็วโดยรัฐควรจัดสรรที่ดินให้ผู้มีรายได้น้อย รวมถึงผู้ไม่มีที่ทำกินของตนเองเพื่อแก้ปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัย ที่ทำกินของประชาชน สำหรับรูปแบบของภาคีสาธารณะแบบใหม่ที่ส่งผลต่อแนวทางการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของประชาชนในจังหวัดสระแก้ว ประกอบด้วย 4 ประการดังนี้ ประการแรก “ภาวะผู้นำ” ประการที่สอง การสะสมทุนทางสังคม ประการที่สาม ความร่วมมือระหว่างภาคี และประการสุดท้าย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (นโยบาย / กฎหมาย) และผลการวิจัย พบว่า ความสำเร็จของการแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของประชาชนในจังหวัดสระแก้ว เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ในรูปแบบของ “การจัดการภาคีสาธารณะแบบใหม่” โดยบทบาทของภาคีของมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง มีองค์กรปกครองท้องถิ่น หน่วยราชการ สถาบันการศึกษา รวมทั้งภาคเอกชน สนับสนุนทั้งด้านความรู้ วิชาการ ทำให้ชุมชนสามารถพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยพี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และผลการวิจัย พบว่า ภาคี ที่สำคัญในการแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของประชาชน ประกอบด้วย 10 ฝ่าย คือ 1) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) 2) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสระแก้ว (สปก.) 3) เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสระแก้ว 4) ภาคราชการบริหารส่วนภูมิภาค จังหวัดและอำเภอ 5) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสระแก้ว 7) ภาคเอกชน คือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จากัด (มหาชน) หรือ ดีแทค 8) ธนาคารออมสิน 9) มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว และ 10) ภาคีสุดท้าย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้มหาวิทยาลัย เงินรายได้ส่วนงานเงินกองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4372
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย(Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_063.pdf3.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น