กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4351
ชื่อเรื่อง: | ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตและสารกระตุ้นที่มีต่อปริมาณสาร 4 methoxycinnamyl p-courmarate ในสารสกัดจากแคลลัสเร่วหอมที่เพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effect of Plant Growth Regulators and Elicitors on 4 methoxycinnamyl p-courmarate Content of Extracts from Etlingera pavieana (Pierre ex Gagnep.) R.M.Sm. Callus Cultured in vitro |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศิรศาธิญากร บรรหาร กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | เร่วหอม พืชสมุนไพร |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | เร่วหอม เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา จัดเป็นพืชที่สามารถนำมาศึกษาและพัฒนาศักยภาพในด้านการแพทย์ อุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้ ปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรและเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชเพิ่มมากขึ้นเพื่อผลิตสารทุติยภูมิจากพืชสมุนไพร งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มออกซินคือ 2, 4-D และสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มไซโตไคนินคือ BA และ TDZ รวมถึงสารกระตุ้นในระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันที่มีต่อการชักนำให้เกิดยอดและการเพิ่มปริมาณสารทุติยภูมิในส่วนยอดอ่อนของเร่วหอม โดยนาชิ้นส่วนหน่ออ่อนที่มีตาข้างของเร่วหอมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร มาเพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร MS ที่เติม 2, 4-D 0.1, 0.5 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร BA 0.5, 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร และ TDZ 0.5, 1 และ 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร จากการทดลองพบว่า การเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนหน่อของเร่วหอมบนอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร หน่ออ่อนมีการเจริญเป็นยอดที่สมบูรณ์แข็งแรงดี และมีแคลลัสเกิดขึ้นบริเวณโคนหน่อด้านล่าง และจากการศึกษาหาชนิดของสารกระตุ้นที่เหมาะสมในการเพิ่มปริมาณยอดและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด โดยนำชิ้นส่วนหน่ออ่อนของเร่วหอม ไปเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับการเติมสารกระตุ้นชนิดต่าง ๆ คือ เมทิลจัสโมเนต (MeJA) 100 และ 200 ไมโครโมลาร์ กรดซาลิไซลิก (SA) 0.2, 0.4, 0.6, 0.8 และ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และไคโตซาน (Chitosan) 20, 60 และ 80 มิลลิกรัมต่อลิตร เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า ในทุกสูตรอาหารที่นำมาเพาะเลี้ยง หน่ออ่อนเจริญดี แต่ไม่สามารถชักนำให้เกิดยอดใหม่ได้ และเมื่อนำยอดอ่อนที่ได้ไปวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด พบว่า ยอดอ่อนที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม MeJA 200 M มีปริมาณสารฟลาโวนอยด์ในยอดอ่อนมากที่สุดเท่ากับ 3.058±0.048 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิคตอกรัมสารสกัด และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากชุดการทดลองอื่น ๆ |
รายละเอียด: | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4351 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_051.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น