กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4337
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสินธุ์ชัย แก้วกิติชัย-
dc.contributor.authorวิศิษฎ์ ตันหยง-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์
dc.date.accessioned2022-05-12T09:11:14Z-
dc.date.available2022-05-12T09:11:14Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4337-
dc.descriptionโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558th_TH
dc.description.abstractทีโนโฟเวียร์เป็นยาที่มีชื่อโครงสร้างทางเคมีว่า 9-(2-Phosphonyl-methoxypropyly) adenine (PMPA) เป็นยาที่ใช้ได้ดีในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีและไวรัสตับอักเสบ ชนิดบี มีกลไกการออกฤทธิ์โดยยับยั้งเอ็นไซม์ nucleotide reverse transcriptase ร่างกายขับถ่ายยาทีโนโฟเวียร์ผ่านทางไตเป็นหลักโดยใช้กระบวนการกรองผ่านโกลเมอรูรัสและการขับยาออกผ่านท่อไตส่วนต้น อาการอันไม่พึงประสงค์ที่สำคัญของยาทีโนโฟเวียร์คือ พิษต่อไตซึ่งทำให้เกิดข้อจำกัดในการใช้ยาชนิดนี้ในทางคลินิก แต่กลไกการทำให้เกิดพิษต่อไตนั้นยังไม่มีกลไกที่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร อย่างไรก็ตามจากการศึกษาทางสรีระวิทยาพบว่าบริเวณท่อไตส่วนต้น มีการกระจายของโปรตีนขนส่งชนิดใช้พลังงาน ATP อยู่หลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่มีชื่อว่า ATP-binding cassette subfamily C11(ABCC11) หรือ Multidrug related protein 8(MRP8) เป็นโปรตีนขนส่งชนิดขับสารออกจากเซลล์ท่อไตส่วนต้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงให้ ความสนใจโปรตีนขนส่งชนิดนี้เป็นพิเศษเพื่อที่จะศึกษาว่าโปรตีนขนส่งชนิดนี้เกี่ยวข้องกับการขนส่งยาทีโนโฟเวียร์ออก จากเซลล์ท่อไตส่วนต้นหรือไม่ ปริมาณสะสมของยาทีโนโฟเวียร์ในเซลล์ท่อไตส่วนต้นพิสูจน์ด้วยวิธีการทดลองที่เรียกว่า transport และ uptake assayed โดยใช้เซลล์ชนิด LLCPK-1 เพิ่มปริมาณโปรตีนขนส่งชนิด ABCC11 ด้วยวิธีการ transfection โดยใช้ Lentivirus นำพา abcc11 gene เข้าไปในเซลล์เพื่อให้เกิดการสร้างกลัยโคโปรตีนชนิดนี้และใช้ synthetic MRP8 vesicle ตามลำดับ อย่างไรก็ดีเพื่อแสดงความจำเพาะของ substrate ต่อกลัยโคโปรตีนขนส่งชนิด ABCC11 ทางผู้วิจัยได้ใช้ Methotrexate anhydrate เป็น substrate และสาร MK571 เป็น inhibitor การศึกษาปริมาณการสะสมของยาทีโนโฟเวียร์และสารเมตาบอไลต์ทั้งในเซลล์และใน vesicle ใช้วิธีการวัดด้วย liquid chromatography-tandem masspectrometry(LC-MS/MS) จากผลการทดลองพบว่าปริมาณสะสมของยาทีโนโฟเวียร์ในเซลล์ LLCPK-1 ที่มีการแสดงออกของกลัยโคโปรตีนขนส่งชนิด ABCC11 นั้น มีปริมาณยาทีโนโฟเวียร์น้อยกว่า 5.5 เท่าของเซลล์ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Pvalue< .001) ในทางกลับกันพบว่าปริมาณยาสะสมจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Pvalue< .001) เมื่อมีสาร MK571 ซึ่งจัดเป็นสารยับยั้งการทำงานของกลัยโปรตีนขนส่งชนิดนี้ สำหรับการทดลองแบบ uptake assayed นั้นพบว่า vesicle ที่มีการแสดงออกของกลัยโคโปรตีนชนิด ABCC11 มีปริมาณสะสมของยาทีโนโฟเวียร์ใน vesicle มากกว่าในทุก ๆ ช่วง เวลาที่ทำการวัดค่าที่ 0.5, 5, 10, 15 และ 30 นาที (Pvalue< .001) ตามลำดับและให้ผลในทางตรงกันข้ามเมื่อมี MK571 เป็นสารยับยั้งกลัยโคโปรตีนชนิดนี้ นอกจากนี้ทางผู้วิจัยยังพบอีกว่าผลการทดสอบด้วยวิธี MTT assayed นั้นพบว่าเซลล์ LLCPK-1 ที่มีการแสดงออกของกลัยโคโปรตีนขนส่งชนิด ABCC11 นั้นมีค่า CC50 สูงกว่าเซลล์ควบคุมถึง 15 เท่าและค่าของ CC50 จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Pvalue< .001) เมื่อมีสารยับยั้งกลัยโคโปรตีนชนิดนี้จนค่า CC50 ไม่แตกต่างกับเซลล์ควบคุม จึงสามารถสรุปได้ว่ายาทีโนโฟเวียร์เป็น substrate ของกลัยโคโปรตีนชนิด ABCC11 ดังนั้นถ้ามีการยับยั้งหรือรบกวนการทำงานของกลัยโคโปรตีนชนิดนี้อาจจะส่งผลต่อการขนส่งยานี้ผ่านทางท่อไตส่วนต้นจนอาจเกิดการสะสมของยาจนทำให้เกิดพิษต่อไตได้th_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectไกลโคโปรตีนth_TH
dc.subjectไตth_TH
dc.subjectระบบนำส่งยาth_TH
dc.titleการศึกษาหน้าที่ของกลัยโคโปรตีนขนส่งชนิด ABCC 11(MRP8) ในการขนส่งยา tenofovir disoproxil fumarate (TDF) บนเซลล์ท่อไตฝอยในหลอดทดลองth_TH
dc.title.alternativeDetermination of ABCC11-glycoprotein (MRP8) transporter function on tenofovir disoproxil fumarate (TDF) transport in renal tubular cells, in vitro studyth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailsindhchai@gmail.comth_TH
dc.author.emailwisith_rx๒@hotmail.comth_TH
dc.year2558th_TH
dc.description.abstractalternativeTenofovir(TFV) is also known as 9-(2-Phosphonyl-methoxypropyly) adenine (PMPA), a relatively high potency of anti-HIV and anti-hepatitis B virus activities which is a nucleotide reverse transcriptase inhibitor. Tenofovir is mainly undergoes renal elimination via a combination of glomerular filtration and active tubular secretion. The present major adverse effect of TFV is nephrotoxicity which is limited their used in clinically setting, but the exactly mechanism is remained poorly understood. Therefore, member of ATP-binding cassette subfamily C11 (ABCC11) or MRP8 transporter at apical side of proximal tubular cells were studied to demonstrate the efflux ability on TFV transport. LLC-PK1 cells were overexpressed the MRP8 transporter protein by transfected them with lentrivirus vector that contained mrp8 gene. Real time polymerase chain reaction(rt-PCR) and indirected immunofluorescence assay were used to dertermine the target gene and protein expression. TFV accumulations were assessed by using MTT, transport and uptake assay. Substrate specificity was confirmed by using MK-571 and methotrexate anhydrate which were a specific inhibitor and known substrate of this efflux transporter in accordingly. Intracellar and intravesicular concentrations of TFV, methotrexate monohydrate and their metabolises were determined by using liquid chromatography-tandem masspectrometry(LC-MS/MS). 2-way ANNOWA and Paired t-test have been used for statistically data analysis. The transport assay has shown the intracellular accumulation of TFV was fives fold lower levels in MRP8- overexpression cells, and its accumulation was reversed by using specific inhibitor. On the other hands, the inside-out vesicel uptake assay was shown the intravesicular concentration of TFV was higher levels in MRP8-overexpression vesicles than SF9-insect vesicles at every time point of sampling; this is also reversed by using specific MRP inhibitor. In addition, MTT assayed was also shown higher levels of CC50 on MRP8-overexpression cells than parental cells and this effect was also reversed when increasing the concentration of specific inhibitor whereas the parental cells had no effect. In conclusion the TFV is a new substrate of MRP8 transporter protein, an alteration on the physiologic functions of this efflux pumps may influences the accumulation of TFV at proximal renal tubular cells and may be contributed to develop nephrotoxicity.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_213.pdf4.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น