กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4333
ชื่อเรื่อง: แหล่งของแทนนินในกล้วย Diploid (2n) triploid (3n) tetraploid (4n) และการใช้ประโยชน์ในการขับไข่พยาธิในแพะเนื้อ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Source of tannins in diploid (2n), triploid (3n), tetraploid (4n) bananas and utilize on fecal nematode egg excretion in crossbred meat goats
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมคิด ใจตรง
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คำสำคัญ: กล้วย - - การใช้ประโยชน์
แพะเนื้อ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีการเกษตร. มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
บทคัดย่อ: ส่วนต่าง ๆ ของกล้วย เช่น ผล และปลี สามารถใช้เป็นอาหาร ในขณะที่ส่วนอื่น ๆ รวมทั้งใบ ลำต้นเทียม และเครือกล้วยกลายเป็นสิ่งเหลือทิ้ง งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในกลุ่มสารประกอบฟีนอล คอนเดนซ์แทนนิน ไฮโดรไลซ์แทนนิน ในลาต้นเทียม ใบ และปลีของพันธุ์กล้วย 3 กลุ่มจีโนม รวม 7 พันธุ์ คือ กลุ่มจีโนม 2 ชุด (2n) จำนวน 2 พันธุ์ คือ กล้วยน้าไท (AA group) และกล้วยตานี (BB group) กลุ่มจีโนม 3 ชุด (3n) จำนวน 4 พันธุ์ คือ กล้วยหอมเขียวค่อม (AAA group) กล้วยสามเดือน (AAB group) กล้วยน้ำว้า (ABB group) และกล้วยหิน (BBB group) และกลุ่มจีโนม 4 ชุด (4n) จำนวน 1 พันธุ์ คือ กล้วยเทพรส (ABBB group) พบว่ากล้วยเทพรส มีปริมาณคอนเดนซ์แทนนิน (174.60 มก.คาเทชิน/มล.) ไฮโดรไลซ์เซเบิลแทนนิน (57.74 มก.แกลโลแทนนิน/มล.) และสารประกอบ ฟีนอลทั้งหมด (45.40 มก.กรดแกลลิก/มล.) สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทั้ง 7 พันธุ์ และพบสูงที่สุดในใบ รองลงมา คือ ปลี และลำต้นเทียม ตามลำดับ จากนั้นคัดเลือกกล้วยเทพรสที่มีปริมาณคอนเดนซ์- แทนนินสูงที่สุด มาเสริมในอาหารแพะเนื้อ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการเสริมกล้วย ในอาหารและการฉีด Ivermectin ต่อการขับไข่พยาธิตัวกลมในแพะเนื้อ โดยศึกษาผลต่อการลดลงของไข่พยาธิในมูลและอัตราการเจริญเติบโตในแพะเนื้อลูกผสมพันธุ์พื้นเมืองและแองโกลนูเบี้ยน อายุประมาณ 1-2 ปี จำนวน 16 ตัว ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อก (Randomized Complete Block Design, RCBD) แบ่งเป็น 4 กลุ่มการทดลอง ประกอบด้วย กลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรควบคุม กลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรควบคุมและได้รับการฉีด Ivermectin กลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรควบคุมและได้รับการเสริมกล้วยเทพรส 40 และ 80 กรัมต่อตัวต่อวัน ตามลำดับ ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 74 วัน แพะทุกตัวได้รับอัลฟาฟ่าอัดเม็ดชนิดแห้งและฟางข้าวเป็นอาหารหยาบแบบเต็มที่ ผลการทดลองพบว่า การเสริมกล้วยเทพรสในอาหารให้ผลคล้ายกับการฉีด Ivermectin กล้วยเทพรสมีผลทำให้เกิดการลดลงของจำนวนไข่พยาธิตัวกลมที่พบในมูล และยังกระตุ้นให้อัตราการเจริญเติบโตแพะเพิ่มขึ้นตามระดับการเสริมกล้วยเทพรส (P<0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามพบว่าค่าที่เพิ่มขึ้นนี้ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการฉีด Ivermectin เมื่อทดสอบผลต่ออัตราการเจริญเติบโตพบว่า กลุ่มที่ได้รับการฉีด Ivermectin ไม่มีผลกระทบเชิงลบต่ออัตราการเจริญเติบโตเช่นเดียวกับการเสริมกล้วยเทพรส แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าการเสริมกล้วยเทพรสในอาหารกระตุ้นให้เกิดการขับไข่พยาธิออกมากับมูลแพะที่มากกว่าปกติของระบบทางเดินอาหารเมื่อเทียบกับกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรควบคุม ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากงานวิจัยนี้ใช้เป็นแนวทางในการนาสิ่งเหลือทิ้งจากใบกล้วยมาเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการผลิตอาหารสัตว์ ในแง่ของการลดปริมาณเชื้อปรสิตและยับยั้งการเจริญเติบโตของพยาธิตัวกลมในระบบทางเดินอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง รวมถึงช่วยลดต้นทุนการผลิตอีกด้วย
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4333
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_038.pdf6.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น