กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/433
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนในโรงเรียนและชุมชนภาคตะวันออก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Model of school-age children health care in school and community, eastern region |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ สุจิตรา สมชิต พัชรินทร์ พูลทวี มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | เด็ก - - สุขภาพและอนามัย อนามัยโรงเรียน เด็ก - - การดูแล สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการที่องค์กรต่าง ๆ ดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนในชุมชน ได้แก่ การกำหนดนโยบาย วิธีการดำเนินการดูแลสุขภาพ วิธีกำกับติดตาม และการประเมินผลการดำเนินงานดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียน โดยวิเคราะห์ถึงการมีส่วนร่วมขององค์กร ครอบครัว โรงเรียน หน่วยงานบริกรสาธารณสุขในชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการชุมชน และองค์กรต่าง ๆ ทำการศึกษาชุมชนในภาคตะวันออก 5 ชุมชน ทำการเก็บข้อมูลกับตัวแทนองค์กรต่าง ๆ ด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกแบบไม่มีโครงสร้าง โดยผู้วิจัยและผู้ช่วยเก็บข้อมูล ร่วมกับการบันทึกเสียงและบันทึกภาพสภาพแวดล้อม ป้ายประกาศโฆษณาต่าง ๆ ตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยการใช้ข้อมูลจากหลายแหล่งรวมกัน (Triangulation Technique) และการสรุปข้อมูลให้ผู้ให้ข้อมูลตรวจสอบเป็นระยะ ๆ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนในชุมชน ประกอบด้วย 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเน้นการสรร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค 2) หน่วยงานบริการสาธารณสุขในชุมชน เน้นดำเนินกิจกรรมที่เป็นงานประจำ (Routine) 3) ครอบครัว มีบทบาทการดูแลการดำเนินชีวิตประจำวัน แก่สมาชิกในครอบครัว 4) โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพให้นักเรียน 5) ผู้นำชุมชน และกรรมการชุมชน ทำหน้าที่ประสานงาน แจ้งข่าวการดำเนินการด้านสุขภาพในชุมชน 2. รูปแบบการดำเนินงาน ได้แก่ 1) การรวบรวมข้อมูลและค้นหาปัญหาสุขภาพของเด็กในชุมชนโดยผ่านการทำประชาคมร่วมกับการใช้ข้อมูลของหน่วยบริการสาธารณสุข 2) การพัฒนาโครงการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนในชุมชนโดยนำปัญหาที่ได้จากประชุมประชาคม ตำบลมาจัดทำแผนชุมชน โดยฝ่ายหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบงานนั้น ๆ 3) การดำเนินการเป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เสนอโครงการ 4) มีการติดตามประเมินผลการทำงานและติดตามงานที่ตกค้างจากการประชาคมครั้งก่อน 5) กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนในพื้นที่ที่ศึกษามีไม่ชัดเจน |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/433 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_033.pdf | 4.3 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น