กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4326
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ชัชวิน เพชรเลิศ | - |
dc.date.accessioned | 2022-05-01T03:23:57Z | - |
dc.date.available | 2022-05-01T03:23:57Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4326 | - |
dc.description | ทุนอุดหนุนการวิจัย งบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 | th_TH |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาส่วนสกัดน้ำของพืชพื้นบ้าน 6 ชนิด ได้แก่ จิก เสม็ดแดง (เม็ก) ชำมะเลียง ผักหวานบ้าน พญาดาบหัก (ราชดัด) และสันดานบ้านในโครงการพัฒนาป่าชุมชนบานอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา) จังหวัดจันทบุรี โดยจะศึกษาในส่วนที่กินได้ของพืช ซึ่งในการทดสอบจะใช้ส่วนของใบยกเว้น พญาดาบหักที่จะใช้ส่วนของเมล็ด นำมาตรวจสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยทำการทดสอบฤทธิ์กำจัดอนุมูล DPPH ทดสอบความสามารถในการรีดิวซ์ และหาปริมาณสารประกอบฟีนอลรวม ปริมาณฟลาโวนอยด์รวม นอกจากนี้ยังนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านลิพิดเปอร์ออกซิเดชันโดยทำการทดสอบค่าคอนจูเกตด์ไดอีน เปอร์ออกไซด และ TBARS จากการทดลองพบว่า ผลของฤทธิ์การกำจัดอนุมูล DPPH ชี้ให้เห็นว่า ใบจิก ใบเสม็ดแดง มีฤทธิ์ยับยั้งอนุมูล DPPH ได้ดี (ค่า IC50ของใบจิก ใบเสม็ดแดง วิตามินซีและบีเอชที เท่ากับ 41.87±5.702, 41.70±3.746, 10.74±0.334 และ 23.10±0.986 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ) นอกจากนี้พบว่าความสามารถในการรีดิวซของพืชเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของสารสกัด โดยใบจิกมีความสามารถในการรีดิวซสูงที่สุด ทั้งนี้พบว่าใบจิกมีปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมสูงที่สุดเท่ากับ 251.26±0.005 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมของส่วนสกัด และใบชำมะเลียงมีปริมาณ สารประกอบฟลาโวนอยด์รวมสูงสุดเท่ากับ 234.23±0.013 มิลลิกรัมสมมูลของเควอร์เซตินต่อกรัมของส่วนสกัด และยังพบว่าส่วนสกัดน้ำของพืชพื้นบ้าน 6 ชนิดช่วยยับยั้งการเกิดลิพิดเปอร์ออกซิเดชันทั้งปฏิกิริยาขั้นเริ่มต้น (Initiation) และปฏิกิริยาขั้นดำเนินไปของปฏิกิริยา (Propagation) โดยพญาดาบหักสามารถยับยั้งการเกิดคอนจูเกตต์ไดอีนในขั้นเริ่มต้นของการเกิดลิพิดเปอร์ออกซิเดชันไดดีที่สุด นอกจากนี้ผักหวานยังสามารถลดการเกิดเปอรออกไซด์ได้ดี และพญาดาบหักสามารถยับยั้งการเกิดมาลอนไดอัลดีไฮด์ได้ดี โดยเปอรเซ็นต์การยับยั้งลิพิดเปอร์ออกซิเดชันจะเพิ่มตามความเข้มข้นของสารสกัดน้ำของพืชพื้นบ้าน จากการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบว่า พืชพื้นบ้านที่นำมาวิจัยจากโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ดนั้นมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและมีฤทธิ์ต้านลิพิดเปอร์ออกซิเดชันที่ดี | th_TH |
dc.description.sponsorship | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | สารประกอบฟีนอล | th_TH |
dc.subject | สารยับยั้ง | th_TH |
dc.subject | สารสกัดจากพืช | th_TH |
dc.subject | แอนติออกซิแดนท์ | th_TH |
dc.title | ฤทธิ์แอนติออกซิแดนท์และฤทธิ์ยับยั้งลิพิดเปอร์ออกซิเดชันของส่วนสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิดจากโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา) จังหวัดจันทบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | Antioxidant activities and inhibitory effect on the lipid peroxidation of some herb extracts from Ban Ang-Ed official community forest project (the chaipattana foundation) at Chantaburi province | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | chatchaw@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2565 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Water extract from six kinds of indigenous vegetable included Jig Barrington augusta Kurz., Mek Syzygium gratum (Wight) S.N. Mitra var. gratum, Luna nut Lepisanthes fruticosa (Roxb.) Leenh., Pak-wan Tree Sauropus amabilis Airy Shaw, Pyadabhak Brucea javanica (L.) Merr., and Lasia spinosa (L.) Thwaite from Ban Ang-Ed Official Community Forest Project (The Chaipattana Foundation) at Chantaburi Province. For this experiment, the leaves of all plants were used except the seeds of Pyadabhak. The antioxidant capacity and phytochemicals were investigated by DPPH scavenging method; reducing power; total phenolic contents; total flavonoid contents. Moreover, the inhibitory effect on the lipid peroxidation with the conjugated diene, peroxide value, TBARS were also determined. The results demonstrated that Jig and Mek showed the highest DPPH scavenging activity. (IC50 of Jig, Mek, vitamin C and BHT were 41.87±5.702, 41.70±3.746, 10.74±0.334 and 23.10±0.986 μg/ml, respectively). Moreover, the reducing power of plant extracts increased in dosedependent. We found that Jig present the highest reducing power. High total phenolic contents of plants extracts of all leaves were observed especially in Jig (251.26±0.005 mg gallic acid equivalent/g extract). Total flavonoid contents of plants extracts of all leaves were also found particularly in Luna nut (234.23±0.0013 mg quercetin equivalent/g extract). We also found that Pyadabhak seeds had a strong inhibitory activity on the conjugated diene at maximum concentration. Moreover, the peroxide value was powerfully reduced by Pak-wan. In addition, Pyadabhak seeds could strongly inhibit the malondialdehyde. The percentage of inhibition on the lipid peroxidation apparently increased according to the concentration of extracts. This research can be implied that traditional vegetables from Ban Ang-Ed Official Community Forest Project have remarkable antioxidant activity and also exerts the inhibitory effect against the lipid peroxidation. | th_TH |
dc.keyword | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_034.pdf | 988.14 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น