กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4323
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคจากการวิเคราะห์ข้อมูลการซื้อสินค้า |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Consumers’ behavior analysis based on buying behavior analysis |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | โกเมศ อัมพวัน อรรถสิทธิ์ สุรฤกษ์ อนุชิต จิตพัฒนกุล ณัฐนนท์ ลีลาตระกูล สุนิสา ริมเจริญ วราวุฒิ ผ้าเจริญ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาการสารสนเทศ |
คำสำคัญ: | การซื้อสินค้า ผู้บริโภค - - การปรับพฤติกรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การค้นหารูปแบบที่มีค่าคุณประโยชน์สูงเป็นหัวข้องานวิจัยหนึ่งที่น่าสนใจภายใต้การทำเหมืองข้อมูลที่ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ตัวอย่างเช่น การประยุกต์ใช้ในธุรกิจค้าปลีกเพื่อทำการค้นหารายการสินค่าที่ถูกซื้อจากลูกค้า ที่ซึ่งสินค่าดังกล่าวจะเป็นรายการสินค่าที่ถูกซื้อร่วมกันและให้ผลตอบแทนที่สูง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม การค้นหารูปแบบที่มีค่าคุณประโยชน์สูงจะ ทำการพิจารณาเพียงแค่ค่าคุณประโยชน์ของรายการต่าง ๆ เท่านั้น ที่ซึ่งการค้นหารูปแบบดังกล่าว อาจไม่เพียงพอต่อการสังเกตถึงพฤติกรรมการซื้อสินค่าของผู้บริโภคด้วยเหตุนี้งานวิจัยจึงมุ่งเน้นที่จะทำการเพิ่มเติมเงื่อนไขการพิจารณารูปแบบ โดยจะทำการเพิ่มเติมเงื่อนไขของการปรากฏอย่างไม่ สม่ำเสมอร่วมกับการพิจารณาค่าคุณประโยชน์ของรูปแบบต่าง ๆ โดยภายใต้แนวคิดใหม่ข้างต้น รูปแบบที่น่าสนใจจะเป[นรูปแบบที่มีค่าคุณประโยชน์สูงและปรากฏขึ้นในชุดข้อมูลอย่างไม่สม่ำเสมอ โดยจะเรียกรูปแบบดังกล่าวว่า “รูปแบบที่มีค่าคุณประโยชน์สูงที่ปรากฏไม่สม่ำเสมอ (High-utilityirregular itemsets, HUII)” ในการค้นหารูปแบบดังกล่าว งานวิจัยนี้ได้เสนอขั้นตอนวิธีที่มีประสิทธิภาพ ที่เรียกว่า “High-Utility Itemsets with Irregular Occurrence Miner, HUIIM” ซึ่งจะทำการอ่านข<อมูลจาก ฐานข้อมูลเพียงครั้งเดียวและทำการประยุกต์ใช้ปรับปรุงโครงสร้างการเก็บข้อมูล(New modified utility-list, NUL) สำหรับจัดเก็บข้อมูลการปรากฏขึ้นและค่าคุณประโยชน์ของเซตรายการหนึ่ง ๆ ให้ มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ขั้นตอนวิธี HUIIM ได้ประยุกต์ใช้แนวความคิดเกี่ยวกับค่าประมาณ คุณประโยชน์ (transaction-weighted utility, TWU), ค่าคุณประโยชน์คงเหลือ (remaining utility) และค่าประมาณคุณประโยชน์แบบกระชับ (tight over-estimated utility, tou) เพื่อทำการ ลดทอนปริภูมิสถานะของการค้นหาเซตรายการ การทดลองได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ ของขั้นตอนวิธี HUIIM ที่ถูกนำเสนอ โดยจากผลการทดลองจะสามารถสังเกตได้ว่าขั้นตอนวิธี HUIIM ที่นำเสนอสามารถประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านเวลาและหน่วยความจำที่ใช้ในการ ประมวลผล |
รายละเอียด: | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4323 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_031.pdf | 3.86 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น