กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4317
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาความเหมาะสมและป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของจังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | An Integrative study of coastal erosive prevention approaches in eastern provinces for Chonburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทวีศักดิ์ เทพพิทักดิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะโลจิสติกส์ |
คำสำคัญ: | การกัดเซาะชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก สาขาเศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | จากสภาพปัจจุบันที่ชายฝั่งและชายหาดของพื้นที่บริเวณตามแนวชายฝั่งทะเลของ จังหวัดชลบุรีกำลังประสบปัญหาการกัดเซาะและพังทลายอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง โดยเฉพาะในหลาย พื้นที่ของจังหวัดซึ่งกำลังประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง อาทิ คลองตำหรุ หาดวอนนภา หาดกัปตันยุทธ บางพระ บางเสร่ พัทยา เป็นต้น โดยการกัดเซาะชายฝั่งทะเลซึ่งได้รับอิทธิพลจากลม ตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้ชายฝั่งบริเวณดังกล่าวมีอัตราการกัดเซาะอยู่ระหว่าง 0.5 ซม. ต่อปี ซึ่งโดยส่วน ใหญ่ร้อยละ 82 ชายฝั่งทะเลที่มีการกัดเซาะปานกลางมีอัตราการกัดเซาะ 1-5 เมตรต่อปี ซึ่งเป็นอาชีพที่ ส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตามแนวชายฝั่งทะเลดังกล่าว รวมทั้งระบบ เศรษฐกิจของชุมชนและจังหวัด โดยตรง รวมทั้งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาทางน้ำ และสิ่งแวดล้อมรอบข้างอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือเพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาด้านการ กัดเซาะชายฝั่งทะเลและผลกระทบที่เกิดขึ้น ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก โดยเฉพาะของจังหวัด ชลบุรี รวมทั้งเพื่อศึกษา สำรวจรูปแบบโครงสร้างการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่ดำเนินการของ ภาคส่วนต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาและเพื่อศึกษาประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลกระทบทาง เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการก่อสร้างโครงสร้างการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ทะเล ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ผู้วิจัยได้ทำการทบทวนวรรณกรรมและสังเคราะห์เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งทำการสัมภาษณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมชายฝั่ง สิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์และด้านสังคมเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการคัดกรองพื้นที่กัดเซาะที่มีความเสี่ยงสูงโดยใช้ วิธีการวิเคราะห์หลากหลายปัจจัย (Multi Criteria Analysis: MCA) ซึ่งได้ทำการถ่วงน้ำหนักปัจจัยโดยใช้ หลักเกณฑ์การวิเคราะห์หลากหลายรูปแบบและให้คะแนนปัจจัยรองด้านต่าง ๆ ตามเกณฑ์ที่เหมาะสม และถูกต้องตรงตามหลักวิชาการทั้งด้านวิศวกรรมชายฝั่ง เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมโยธา สถาปัตยกรรม และภูมิสถาปัตยกรรม สิ่งแวดล้อมและการมีส่วนรวมของประชาคม ผลการศึกษาทำเลที่ตั้งเพื่อคัดเลือกทำเลที่ตั้งของพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งที่มีการกัดเซาะ รุนแรงขั้นวิกฤตด้วยการวิเคราะห์หาพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในเบื้องต้นจากพื้นที่ 7 แห่งให้เหลือ 4 แห่ง 3 แห่ง และ 2 แห่งตามลำดับโดยแต่ละพื้นที่จะมีจุดอ่อน จุดแข็งแตกต่างกันออกไป โดยผู้วิจัยจะได้นำพื้นที่ที่ได้ คัดเลือกไว้นี้ไปทำการศึกษาเชิงลึกในด้านต่าง ๆ รวมทั้งจะได้นำไปทำการเสนอแนะแนวทางการ ออกแบบโครงสร้างเพื่อป้องกันและลดการกัดเซาะทั้งแบบ Hard Structure และแบบ Soft Structure ในพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งที่มีการกัดเซาะรุนแรงขั้นวิกฤตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด ต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4317 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2559_083.pdf | 5.44 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น