กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4316
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สาลินี ขจรพิสิฐศักดิ์ | |
dc.contributor.author | เกศราภรณ์ จันทร์ประเสริฐ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2022-04-01T09:18:42Z | |
dc.date.available | 2022-04-01T09:18:42Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4316 | |
dc.description | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 | th_TH |
dc.description.abstract | ความหลากชนิดและความชุกชุมของมดที่หากินตามพื้นดินในระบบเกษตรกรรมเขตร้อนกรณีศึกษา จังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง ภาคตะวันออกของประเทศไทย ได้ทำการศึกษาในเขตพื้นที่สวนน้อยหน่า สวนขนุน สวนทุเรียน สวนมังคุด และสวนยางพารา ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 โดยสำรวจภาคสนามเดือนละครั้งด้วยวิธีเก็บตัวอย่าง 4 วิธี ได้แก่ การใช้กับดักหลุม กับดักเหยื่อทูน่ากับดักเหยื่อน้ำหวาน และการร่อนเศษใบไม้ ผลการศึกษาพบมดทั้งหมดจำนวน 299,874 ตัว แบ่งเป็นสวนขนุน 106,504 ตัว สวนน้อยหน่า 82,948 ตัว สวนทุเรียน 49,998 ตัว สวนมังคุด 35,724 ตัว และสวนยางพารา 24,700 ตัว โดยสามารถจัดจำแนกในระดับชนิดออกเป็น 41 ชนิด ใน 29 สกุล และ 7 วงศ์ย่อย ได้แ ก่ Dolichoderinae, Dorylinae, Ectatomminae, Formicinae, Myrmicinae, Ponerinae และ Pseudomyrmecinae สวนมังคุดพบจำนวนชนิดมดมากที่สุด (30 ชนิด ใน 26 สกุล 6 วงศ์ย่อย) รองลงมาคือ สวนทุเรียน (23 ชนิด ใน 21 สกุล 5 วงศ์ย่อย) สวนยางพารา (20 ชนิด ใน 18 สกุล 6 วงศ์ย่อย) สวนขนุน (15 ชนิด ใน 15 สกุล 4 วงศ์ย่อย) และสวนน้อยหน่า (15 ชนิด ใน 15 สกุล 4 วงศ์ย่อย) วงศ์ย่อย Myrmicinae เป็นวงศ์ย่อยที่มีจำนวนสกุลและจำนวนชนิดมากที่สุด (14 ชนิด 9 สกุล) รองลงมาคือ วงศ์ย่อย Formicinae (10 ชนิด 7 สกุล) และวงศ์ย่อย Ponerinae (7 ชนิด 5 สกุล) เมื่อพิจารณาตามวิธีเก็บตัวอย่าง พบว่า วิธีการวางกับดักหลุมเป็นวิธีที่ได้จำนวนวงศ์ย่อย สกุล และชนิดได้สูงสุดเมื่อเทียบกับวิธีอื่น โดยสามารถรวบรวมมดได้ทั้งหมด 7 วงศ์ย่อย 41 ชนิด 29 สกุล คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนชนิดมดทั้งหมด จากการศึกษาดัชนีโครงสร้างทางชีวภาพของชุมชีพมด พบว่า ค่าเฉลี่ยของดัชนีความหลากหลา ยของ Shannon (H') ดัชนีความสม่ำเสมอ (E') และดัชนีความหลากหลายของ Simpson (D') ของมดในพื้นที่สวนขนุนมีค่าต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับพื้นที่สวนมังคุด สวนยางพารา สวนทุเรียน และสวนน้อยหน่า ตามลำดับ เมื่อพิจารณาถึงจำนวนตัวมดในแต่ละชนิด พบว่า มดง่าม (Carebara affinis) มดน้ำผึ้ง (Anoplolepis gracilipes) และมดคัน (Pheidole sp.1) เป็นชนิดพันธุ์เด่นที่พบในสวนทุเรียน สวนมังคุด และสวนยางพารา ตามลำดับ ขณะที่มดคันไฟ (Solenopsis geminate) เป็นชนิดพันธุ์เด่นที่พบทั้งในสวนขนุนและสวน น้อยหน่า ผลการศึกษาทั้งหมดในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าความหลากชนิด ความชุกชุม และองค์ประกอบทางชนิดของกลุ่มสังคมมดมีความแปรผันไปตามรูปแบบของการทำเกษตรกรรม | th_TH |
dc.description.sponsorship | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | มด - - การควบคุมทางชีววิทยา | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.title | การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่และเวลาในองค์ประกอบและความชุกชุมของชุมชีพมดในระบบเกษตรกรรมเขตร้อน : กรณีศึกษาจังหวัดระยองและจังหวัดชลบุรี ภาคตะวันออกของประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Spatial and temporal variation in the composition of ant assemblages in tropical agricultural system: a case study of Rayong and ChonBuri Provinces,Eastern ThaiLand | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | salineek@buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | kasaraporn@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2561 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The species diversity and abundance of ground-foraging ants in tropical agricultural system: a case study in Chon Buri and Rayong provinces, eastern Thailand was conducted in the jackfruit orchard, the custard apple, the durian orchard, the mangosteen orchard, and the rubber plantation between October 2015 and September 2016. Ant specimens were collected once a month with 4 different methods which include pitfall traps, tuna-bait traps, sugar-bait traps and leaf-litter sifting. Overall, the total number of ant individuals was 299,874 of which 106,504 ants were in the jackfruit orchard, 82,948 in the custard apple orchard, 49,998 the durian orchard, 35,724 in the mangosteen orchard and 24,700 in the rubber plantation. Accordingly, 41 species in 29 genera and 7 subfamilies, including Dolichoderinae, Dorylinae, Ectatomminae, Formicinae, Myrmicinae, Ponerinae and Pseudomyrmecinae, were recorded. The mangosteen orchard was the richest area with 30 species in 26 genera and 6 subfamilies, followed by the durian orchard (23 species in 21 genera and 5 subfamilies), the rubber plantation (20 species in 18 genera and 6 subfamilies), and the jackfruit orchard and the custard apple orchard (15 species in 15 genera and 4 subfamilies), respectively. The subfamily Myrmicinae was the richest in species (14 species in 9 genera), followed by Formicinae (10 species in 7 genera), and Ponerinae (7 species in 5 genera). Considering the sampling methods, the pitfall trap caught the greatest number of subfamilies, genera and species of ants as opposed to the other ways. The pitfall trap sampling technique gathered up 41 species in 29 genera and 7 subfamilies, representing 100% of the total number of species. According to measures of species diversity, the results show that with respect to the average values of the Shannon Diversity Index ( H') , the Evenness index (E') and the Simpson’s Index of Diversity(D'), the jackfruit orchard is the lowest, compared to the mangosteen orchard, the rubber plantation, the durian orchard and the custard apple orchard. The most abundant ant species were Carebara affinis (in the durian orchard), Anoplolepis gracilipes (in the mangosteen orchard), and Pheidole sp. (in the rubber plantation) whereas solenopsis geminata is the most abundance species in both the jackfruit orchard and the custad apple orchard. All resulted presented here highlighted that the species diversity, abundance, and species composition of ground-foraging ant communities were varied among three different agricultural systems. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_029.pdf | 3.92 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น