กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4313
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุบัณฑิต นิ่มรัตน์
dc.contributor.authorวีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
dc.contributor.authorปรินทร์ ชัยวิสุทธางกูร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2022-03-23T08:06:03Z
dc.date.available2022-03-23T08:06:03Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4313
dc.descriptionโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561th_TH
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกรูปแบบใหม่เพื่อการควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรค และส่งเสริมการเจริญเติบโตของกุ้งขาวแวนนาไม” การศึกษาในปีที่ 2 นี้ได้ศึกษาถึงผลของแบคทีเรีย โพรไบโอติกผสม ( ฺBacillus sp. สายพันธุ์ BUU 001, BUU 002, BUU 003, BUU 004 และ BUU 005) ในรูปทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งและรูปไมโครแคปซูลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางกายภาพ และเคมีของน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในบ่อเพาะเลี้ยงจำลอง ได้แก่ ความขุ่น ค่าความเป็น กรด-ด่าง ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ อุณหภูมิ ความเค็ม แอมโมเนีย ไนไทรต์ ไนเทรตและ ฟอสเฟต และต่อการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนแบคทีเรียชนิดต่าง ๆ ใน Hepatopancreas-Intestine และน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม ตลอดระยะเวลา 30 วันหลังการเติมแบคทีเรียโพรไบโอติก และระหว่างการทดสอบการต้านทานแบคทีเรียก่อโรคด้วยการเติม Vibrio harveyi สายพันธุ์ 002 เป็นระยะเวลา 10 วัน จากการศึกษาพบว่าแบคทีเรียโพรไบโอติกผสมในรูปการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง และรูปไมโครแคปซูลมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกันในด้านการควบคุมคุณภาพน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้งขาว แวนนาไมระยะวัยอ่อน (โพสลาวา 30) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดปริมาณแอมโมเนียและไนไทรต์ให้มี ค่าน้อยกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับอัตราส่วนของ Bacillus ต่อปริมาณ แบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดใน Hepatopancreas-Intestine ของกุ้งขาวแวนนาไมในช่วงก่อน และหลังทดสอบความต้านทานโรคที่เกิดจาก V. harveyi สายพันธุ์ 002 แสดงให้เห็นว่า Bacillus โพรไบโอติกผสมทั้ง 2 รูปแบบสามารถรอดชีวิตและเจริญใน Hepatopancreas-Intestine ของ กุ้งขาวแวนนาไมได้ ส่งผลให้อัตราส่วนของ Bacillus ต่อปริมาณแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมด ในอวัยวะดังกล่าวของกุ้งขาวแวนนาไมของทั้ง 2 ชุดการทดลองเพิ่มขึ้น ส่วนชนิดของแบคทีเรียวงศ์ Vibrionaceae ใน Hepatopancreas-Intestine ของกุ้งขาวแวนนาไมในช่วง 30 วันก่อนการทดสอบ ความต้านทานแบคทีเรียก่อโรคจำแนกได้ 5 ชนิด ได้แก่ Vibrio campbellii LV 33, V. diabolicus LV 34, Vibrio sp. LV 35, Vibrio sp. LV 36 และ Vibrio sp. LV 37 โดยแบคทีเรียชนิดเด่นที่พบของทั้ง 3 ชุดการทดลอง ตลอดระยะเวลาการทดลอง 30 วัน คือ Vibrio sp. LV 36 (20.00 -25.00%), V. diabolicus LV 34 (18.87-23.47%), Vibrio sp. LV 37 (14.29-22.64%), V. campbellii LV 33 (15.09-21.43%) และ Vibrio sp. LV 35 (15.31 - 18.87%) ตามลำดับ เมื่อเติม V. harveyi สายพันธุ์ 002 ลงในน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมพบว่า แบคทีเรียก่อโรคชนิดนี้กลายเป็นแบคทีเรียเด่นที่พบ ได้มาก (51.79-59.38%) ใน Hepatopancreas-Intestine ของกุ้งขาวแวนนาไมภายใน 2 ชั่วโมงหลัง การเติมแบคทีเรียก่อโรค แต่อย่างไรก็ตามสัดส่วนของ V. harveyi สายพันธุ์ 002 ในชุดที่เติมโพรไบโอติก ทั้ง 2 ชุด มีปริมาณน้อยกว่าในชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การศึกษาในครั้งนี้สรุป ได้ว่าการเติมแบคทีเรียโพรไบโอติกผสมในรูปทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งและรูปไมโครแคปซูลสามารถลด ปริมาณแอมโมเนียและไนไทรต์ในน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม รวมทั้งสามารถเพิ่มสัดส่วนของ Bacillus และลดปริมาณแบคทีเรียก่อโรค คือ V. harveyi สายพันธุ์ 002 ใน Hepatopancreas- Intestine ของกุ้งขาวแวนนาไมได้อย่างมีประสิทธิภาพth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectจุลินทรีย์ - - การควบคุมคุณภาพth_TH
dc.subjectโพรไบโอติกth_TH
dc.subjectกุ้งขาวแวนนาไม - - การเลี้ยงth_TH
dc.subjectกุ้งขาวแวนนาไม - - การเจริญเติบโตth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleการพัฒนาผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกรูปแบบใหม่เพื่อการควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคและส่งเสริมการเจริญเติบโตของกุ้งขาวแวนนาไมth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of novel commercial probiotic product for controlling pathogenic microorganisms and enhancing growth of Pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei)en
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailsubunti@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailverapong@buu.ac.thth_TH
dc.year2561th_TH
dc.description.abstractalternativeThis research work entitled “Development of novel commercial probiotic product for controlling pathogenic microorganisms and enhancing growth of Pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei)” in the second year of study focused on effects of bacteria probiotics mixtures (Bacillus strain BUU 001, BUU 002, BUU 003, BUU 004 and BUU 005) in forms of freeze-dried and microencapsulated products on alteration in physical and chemical qualities of culture water in simulated shrimp ponds e.g. turbidity, pH, dissolved oxygen, temperature, salinity, ammonia, nitrite, nitrate and phosphate as well as on change in selected bacterial ratios in hepatopancreas-intestine and culture water of post-larval L. vannamei throughout 30 days after bacteria probiotics administration and during pathogenic V. harveyi strain 002 challenge for 10 days. Administration of freeze-dried mixed bacteria probiotics was as effective as microencapsulated bacteria probiotics route in terms of controlling water quality in culture water of post-larval L. vannamei (post-larvae 30), especially significant reduction (p<0.05) in ammonia and nitrite concentrations, compared with those of the controls. In case of Bacillus/total heterotrophic bacteria number ratio in hepatopancreas-intestine of post-larval L. vannamei before and after pathogenic resistance test, Bacillus in the both forms were able to survive and grow in hepatopancreas-intestine of L. vannamei leading to increase in Bacillus/total heterotrophic bacteria number ratio in this shrimp organ in the two treatments. Vibrionaceae genera in hepatopancreas-intestine of L. vannamei before pathogenic V. harveyi challenge could be identified as 5 species i.g. Vibrio campbellii LV 33, V. diabolicus LV 34, Vibrio sp. LV 35, Vibrio sp. LV 36 and Vibrio sp. LV 37. Predominant Vibrionaceae genera frequently found in hepatopancreas-intestine of L. vannamei of all treatments throughout 30-days monitoring were Vibrio sp. LV 36 (20.00-25.00%), Vibrio diabolicus LV 34 (18.87-23.47%), Vibrio sp. LV 37 (14.29-22.64%), Vibrio campbellii LV 33 (15.09-21.43%) and Vibrio sp. LV 35 (15.31-18.87%), respectively. Addition of V. harveyi strain 002 in culture water of L. vannamei resulted in V. harveyi predominance (51.79-59.38%) in hepatopancreas-intestine of L. vannamei within 2 h post-challenging. However, ratios of V. harveyi strain 002 in L. vannamei of both treatments supplemented with the probiotics were significantly (p<0.05) lower than that of the control. This study could be concluded that bacteria probiotics mixtures in forms of freeze-dried and microencapsulated products were effectively capable of reducing ammonia and nitrite concentration in culture water of L. vannamei and also increasing Bacillus ratio and minimizing pathogenic V. harveyi strain 002 in hepatopancreas-intestine of L. vannameien
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_185.pdf7.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น