กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4312
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวาสินี พงษ์ประยูร
dc.contributor.authorอติกร ปัญญา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2022-03-23T07:30:32Z
dc.date.available2022-03-23T07:30:32Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4312
dc.descriptionได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560th_TH
dc.description.abstractการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของข้าวพื้นเมือง 4 พันธุ์ โดยการประเมินค่าความสว่าง (L*) ค่าสีแดง (a*) และค่าสีเหลือง (b*) ในข้าวเปลือกและข้าวกล้องด้วยเครื่องวัดสีคัลเลอร์มิเตอร์ พบว่า โดยข้าวเปลือกทั้ง 4 พันธุ์มีค่าเฉลี่ยของค่า L* a* และ b* ที่ 56.43, 5.44 และ 24.99 ข้าวเปลือกพันธุ์บัวใหญ่และเหลืองประทิว 123 มีค่า L* และ b* มากที่สุดคือ 60.04 และ 26.99 แต่ในข้าวเปลือกพันธุ์เหลืองใหญ่ มีค่า L* ต่ำที่สุด 49.44 และในข้าวกล้อง 4 พันธุ์ มีค่าเฉลี่ยของ L* a* และ b* ที่ 64.11, 1.05 และ 16.88 โดยที่ข้าวกล้องพันธุ์เหลืองประทิว 123 พบค่า L* และ a* ต่ำที่สุดคือ 62.37 และ 0.33 เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวอีก 3 พันธุ์ การศึกษาเชิงคุณภาพของเมล็ดข้าว ด้วยการส่องภายใต้กล้องสเตอริโอ โดยบันทึกตามเกณฑ์ Standard Evaluation System (SES) พบว่า สีเปลือกเมล็ดหรือแกลบมีสีฟางในข้าวทุกพันธุ์ยกเว้นข้าวพันธุ์เหลืองใหญ่ที่มีสีเหลือง สีของข้าวกล้องมีสีขาว มีขนบนเปลือกข้าวและหางข้าวสั้นมีสีฟาง การศึกษาในเชิงปริมาณของข้าวเปลือกและข้าวกล้อง 4 พันธุ์ ได้แก่ ความยาว ความกว้าง ความหนา สัดส่วนของความยาวต่อความกว้าง น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของข้าวจำนวน 100 เมล็ด พบว่าข้าวเปลือกและข้าวกล้องมีความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 10.06 และ 7.29 มิลลิเมตร ความกว้างเฉลี่ยที่ 2.63 และ 2.28 มิลลิเมตร และมีความหนาค่าเฉลี่ยที่ 2.02 และ 1.79 มิลลิเมตร มีน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของข้าวเปลือกเฉลี่ยที่ 2.71 และ 2.44 กรัม ตามลำดับ และสัดส่วนความยาวต่อความกว้างของข้าวกล้องมีค่ามากกว่า 3 (เมล็ดเรียวยาว) ในข้าวทั้ง 3 พันธุ์ ได้แก่ เหลืองใหญ่ ขวัญชัยและเหลืองประทิว 123 แต่ในข้าวพันธุ์บัวใหญ่ มีสัดส่วนน้อยกว่า 3 (เมล็ดมีขนาดกลาง) จากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการในเมล็ดข้าวพื้นเมือง 4 พันธุ์ ด้วยการหาปริมาณแป้ง น้ำตาลรีดิวซ์และโปรตีน พบว่า ข้าวพันธุ์บัวใหญ่มีแนวโน้มของปริมาณแป้งต่ำที่สุดคือ 62.43 g/100g แต่มีปริมาณโปรตีนสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 9.33 g/100g มากกว่าข้าวพันธุ์อื่น ๆ ตรงกันข้ามกับข้าวขวัญชัยมีแนวโน้มของปริมาณแป้งมากที่สุด 74.00 g/100g แต่มีปริมาณโปรตีนต่ำที่สุดคือ 7.68 g/100g อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติของน้ำตาลรีดิวซ์ในข้าวทั้ง 4 พันธุ์ นอกจากนี้ การศึกษาชนิดและปริมาณกรดอะมิโนรวมซึ่งมีความสาคัญในเชิงโภชนาการ ด้วยเครื่อง Gas chromatography mass spectrometry (GC-MS) โดยวิธี Ez:Faast พบกรดอะมิโน 16 ชนิด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กรดอะมิโนที่จำเป็น 7 ชนิด ได้แก่ วาลีน (VAL) ลิวซีน (LEU) ไอโซลิวซีน (ILE) ทรีโอนีน (THR) ฟีนิลอะลานีน (PHE) ไลซีน (LYS) และทริปโตเฟน (TYR) และกรดอะมิโนไม่จำเป็นที่เหลืออีก 9 ชนิด โดยที่กลูตาเมต (GLU) เป็นกรดอะมิโนที่พบปริมาณมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ลิวซีน (LEU) และโพรลีน (PRO) ข้าวพันธุ์เหลืองประทิว 123 มีปริมาณของกลูตาเมตมากที่สุด 1.53 g/100 g ข้าวพันธุ์ขวัญชัยมีปริมาณของกรดอะมิโน VAL, LEU, ILE, PRO, GLU, PHE และ TYR ต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับข้าวอีก 3 พันธุ์ ข้าวพันธุ์พื้นเมืองเหล่านี้ โดยเฉพาะข้าวพันธุ์เหลืองใหญ่ ที่ได้จากการสำรวจและเก็บรวบรวมจากอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ครั้งนี้เป็นข้าวที่มีศักยภาพโดยได้รับการพัฒนาเป็นข้าวพันธุ์รับรองพันธุ์ใหม่ที่มีชื่อว่าเหลืองใหญ่ 48 จากงานวิจัยครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าข้าวพันธุ์พื้นเมืองมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ได้แก่ โปรตีน กรดอะมิโนที่จำเป็นและไม่จำเป็นหลายชนิดth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectข้าว - - พันธุ์พื้นเมืองth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleลักษณะทางสัณฐานวิทยาและคุณค่าทางโภชนาการของข้าวพื้นเมืองในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีth_TH
dc.title.alternativeMorphological and nutritional values of native rice in Phanat Nikhom District, Chonburi provinceen
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailwasinee@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailatikorn.pan@biotec.or.thth_TH
dc.year2561th_TH
dc.description.abstractalternativeMorphological study of 4 native rice varieties by mesuament brightness (L*), red (a*) and yellow (b*) values in paddy and brown rice grains using colorimeter. The average of L* a* and b* values were 56.43, 5.44 and 24.99, respectively. The highest of L* and b* values at 60.04 and 26.99 were found in paddy of Bua Yai and Leuang Pratew 123. In contrast, Leuang Yai showed the lowest values of L* at 49.44. The average of L*, a* and b* values were 64.11, 1.05 and 16.88 in 4 brown rice cultivars. Leuang Pratew 123 brown rice showed the lowest values of L* and a* at 62.37 and 0.33 when comparing with other rice cultivars. Qualitative rice grains were evaluated under the stereo camera according to the Standard Evaluation System (SES), it was found that the color on paddy or husk was straw in all rice varieties except Leuang Yai which showed the yellow color on the husk. All brown rice grains represented a white color on seed coat. All brown rice had pubescence on husk and appeared the straw on a short awn. Morphological study on the quantitative properties in paddy and brown rice of 4 rice varieties such as length, width, thickness, ratio of length to width, fresh weight and dry weight of 100 grains showed that the paddy and brown rice had the average of length at 10.06 and 7.29 mm, width at 2.63 and 2.28 mm and the thickness at 2.02 and 1.79 mm. The average of fresh and dry weights in paddy at 2.71 and 2.44 g. The ratio of length to width in brown rice in Leuang Yai, Khwan Chai and Leuang Pratew 123 had more than 3 as a slender seed whereas Bua Yai showed the medium seed less than 3. Analyzing nutritional values of 4 native rice grain such as starch, reducing sugar and protein contents were quantified. Bua Yai trended to the lowest of starch content at 62.43 g/100g, whereas it showed the highest protein content significantly different at 9.33 g/100g when compared with other 3 rice varities. Conversely, Khwan Chai rice had the highest of starch content at 74.00 g/100g while it showed the lowest protein content at 7.68 g/100g. However, reducing sugar contents were not different in all 4 rice varities.Moreover, analysis of type and content of total amino acids were quantified using gas chromatography mass spectrometry (GC-MS) with Ez: Faast method. From the result, 16 amino acids were found and divided into 2 groups. The first group as an essential amino acids consisted of VAL, LEU, ILE, THR, PHE, LYS and TYR. The other one were 9 non essential amino acids. GLU was a major of total amino acids and consequently LEU and PRO. Leuang Pratew 123 showed the highest of GLU content at 1.53g/100g. Khwan Chai had the lowest contents of VAL, LEU, ILE, PRO, GLU, PHE and TYR when compared to the other 3 rice varities. These native rice varities, especially Leuang Yai obtainted from survey and collection in Phanat Nikhom District, Chonburi province which a native rice had a potential as a certified rice namely Leuang Yai 48. From this research suggests that these native rice varieties showed a high nutritional values of protein, essential amino acid and non essential amino acid contents.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_026.pdf856.86 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น