กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4308
ชื่อเรื่อง: | การใช้กากมันสำปะหลังหมักยีสต์ในอาหารโคเนื้อต่อกระบวนการหมักในรูเมนและสมรรถนะการผลิต |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Utilizing protein-enriched cassava pulp in beef cattle diet on rumen fermentation and productive performances |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุปรีณา ศรีใสคำ พิพัฒน์ เหลืองลาวัณย์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร |
คำสำคัญ: | มันสำปะหลัง - - การใช้เป็นอาหารสัตว์ อาหารสัตว์ - - การผลิต - - วิจัย อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว |
บทคัดย่อ: | ศึกษาการใช้กากมันสำปะหลังหมักเป็นวัตถุดิบแหล่งพลังงานในอาหารข้นต่อกระบวนการหมักในรูเมนและสมรรถนะการผลิตของโคเนื้อบราห์มันลูกผสม การศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 3 การศึกษาเบื้องต้น และ 1 การทดลอง คือ 1.1) การศึกษาเบื้องต้นถึงองค์ประกอบทางเคมี พบว่า คุณค่าทางโภชนะของกากมันสำปะหลังมีองค์ประกอบทางเคมีเหมาะสมที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบแหล่งพลังงานในสูตรอาหารได้ 1.2) การเพิ่มโปรตีนจากกระบวนการหมักกากมันสำปะหลังสดด้วย Aspergillus oryzae และ Saccharomyces cerevisiae ร่วมกับยูเรียในระดับห้องปฏิบัติการ จัดแผนการทดลองแบบ 5 x 6 Factorial in ใน CRD โดยปัจจัย A เป็นระดับยูเรีย 5 ระดับคือ 0, 0.25, 0.50, 0.75 และ 1.00 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง และปัจจัย B เป็นระยะเวลาในการหมักที่ 0, 1, 2, 3, 4 และ 5 วัน พบว่า ปริมาณโปรตีนและยูเรียทุกสูตรได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในการหมักของวันที่ 2 เป็นต้นไป โดยที่ระดับการเติมยูเรีย 1.00 เปอร์เซ็นต์ สูงที่สุด รองลงมาคือ 0.75, 0.50, 0.25 และ 0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ปริมาณโปรตีนและยูเรียตกค้างเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตามระดับการเติมยูเรียที่สูงขึ้น สรุปได้ว่ากระบวนการหมักกากมันสำปะหลังสดด้วยราและยีสต์สามารถเพิ่มปริมาณโปรตีนได้ โดยระยะเวลาการหมักที่เหมาะสมที่สุดคือ 5 วัน และยูเรียที่ระดับ 0.50, 0.75 และ 1.00 เปอร์เซ็นต์ เป็นสูตรที่ดีที่สุด และ 1.3) การศึกษาวัตถุแห้งที่ย่อยสลายได้ในโคเจาะกระเพาะจานวน 3 ตัวของกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ทั้ง 11 กลุ่มการทดลองจากการศึกษาที่ 1.2 ไม่พบอิทธิพลร่วมระหว่างระดับยูเรียกับระยะเวลาในการหมัก การทดลองที่ 1 ศึกษาผลการใช้กากมันสาปะหลังหมักที่มีคุณภาพในแต่ละระดับของสูตรอาหารข้นโคเนื้อต่อกระบวนการหมักในรูเมนและสมรรถนะการผลิต จัดแผนการทดลองแบบ 4x4 Latin square design ใช้โคเนื้อจำนวน 4 ตัว อายุประมาณ 14-17 เดือน น้ำหนักเฉลี่ย 250+25 กิโลกรัม โดยมีการบันทึกน้ำหนักตัวก่อนเริ่มเข้างานทดลอง ทำการเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 84 วัน ปรับสัตว์เป็นระยะเวลา 14 วัน แบ่งออกเป็น 4 ช่วงการทดลอง ช่วงละ 21 วัน โดยที่กลุ่มการทดลองที่ 1 ได้รับฟางหมักยูเรียร่วมกับอาหารข้นที่ไม่มีกากมันสาปะหลังหมักยีสต์ (อาหารกลุ่มควบคุม) กลุ่มการทดลองที่ 2 ได้รับฟางหมักยูเรียร่วมกับอาหารข้นที่มีกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ในสูตรที่ระดับ 10% (DM basis) กลุ่มการทดลองที่ 3 ได้รับฟางหมักยูเรียร่วมกับอาหารข้นที่มีกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ในสูตรที่ระดับ 20% (DM basis) และกลุ่มการทดลองที่ 4 ได้รับฟางหมักยูเรียร่วมกับอาหารข้นที่มีกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ในสูตรที่ระดับ 30% (DM basis) โดยทั้ง 4 กลุ่มการทดลองได้รับฟางหมักเป็นแหล่งของอาหารหยาบที่ให้แบบเต็มที่ ไม่พบว่า ปริมาณการกินได้ ความสามารถในการย่อยได้ของโภชนะ น้ำหนักตัว ปริมาณของไนโตรเจนในกระแสเลือด ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) แอมโมเนีย-ไนโตรเจนในของเหลวในกระเพาะหมัก การเปลี่ยนแปลงประชากรของแบคทีเรียและโปรโตซัว และกรดไขมันระเหยได้ของทั้ง 4 กลุ่มการทดลองมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) |
รายละเอียด: | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (เพิ่มเติม) |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4308 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_024.pdf | 2.9 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น