กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4307
ชื่อเรื่อง: | ผลของวิธีการเติมโลหะเหล็กบนตัวรองรับซิลิกาจากเถ้าชานอ้อยเพื่อดูดซับสารปราบวัชพืชไกลโฟเชต |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Influence of iron loading onto silica from bagasse ash for glyphosate adsorption |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรสุรางค์ โสภิพันธ์ จตุพร วิทยาคุณ เพียว ผาใต้ นวลละออง สระแก้ว มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร |
คำสำคัญ: | วัชพืช ชานอ้อย โลหะ ซิลิกา สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้ศึกษาผลของวิธีการเติมโลหะเหล็กบนตัวรองรับซิลิกาจากเถ้าชานอ้อยเพื่อดูดซับสารปราบ วัชพืชไกลโฟเซต โดยนำเถ้าชานอ้อยเหลือทิ้งจากโรงงานน้ำตาลมาบำบัดด้วยวิธีทางความร้อนหรือวิธีทางเคมี จากนั้นใช้เป็นสารตั้งต้นในการเตรียมซิลิกา ได้ซิลิกาที่มีความบริสุทธิ์ (78-89 ร้อยละโดยน้ำหนักของซิลิกา) เมื่อทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับไกลโฟเซต พบว่า ซิลิกาที่ได้จากเถ้าชานอ้อยผ่านการบำบัดด้วยความร้อนที่ 300 ˚C (Si-BA-300) เป็นตัวดูดซับที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมที่สุด จากนั้นทำการเติมโลหะเหล็กลงบน Si-BA-300 ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน ได้แก่ 1) วิธีทำให้เอิบชุ่ม (incipient wetness impregnation; IWI) 2) วิธีการรีฟลักซ์ (reflux; RF) 3) วิธีการเกิดปฏิกิริยาสถานะของแข็ง (solid state reaction; SSR) เอกลักษณ์ทางโครงสร้างและธาตุองค์ประกอบของตัวดูดซับที่เตรียมได้วิเคราะห์ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์และเทคนิคฟลูออเรสเซนต์ พื้นที่ผิวของตัวดูดซับวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวัดไอโซเทอร์มการดูดซับไนโตรเจนสภาวะออกซิเดชันของโลหะเหล็กวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ และค่าพีเอชที่ประจุพื้นผิวตัวดูดซับเป็นศูนย์วิเคราะห์ด้วยวิธี pH Drift method โดยตัวดูดซับโลหะเหล็กบนตัวรองรับซิลิกาจากเถ้าชานอ้อยที่เตรียมด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้ Fe/Si-BA-300-IWI Fe/Si-BA-300-RF และ Fe/Si-BA-300-SSR ใช้ทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับไกลโฟเซต การวิเคราะห์ปริมาณไกลโฟเซตอาศัยวิธีคัลเลอรีเมตรีและวัดค่าการดูดกลืนแสงด้วยเทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโตรสโคปี จากผลการทดลองพบว่าประสิทธิภาพการดูดซับไกลโฟเซต เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ Fe/Si-BA-300-IWI > Fe/Si-BA-300-SSR ≈ Fe/Si-BA-300-RF > Si-BA-300 โดย Fe/Si-BA-300-IWI มีประสิทธิภาพในการดูดซับไกลโฟเซตสูงสุดคิดเป็น 32% การเติมโลหะเหล็กลงบนซิลิกาจากเถ้าชานอ้อยด้วยวิธีที่แตกต่างกันมีผลต่อปริมาณประจุบวกบนผิวหน้าของตัวดูดซับในสารละลายไกลโฟเซต จากการศึกษาไอโซเทอร์มการดูดซับพบว่าเป็นแบบฟรอยลิช โดยประสิทธิภาพการดูดซับไกลโฟเซตจะลดลงเมื่อสภาพพีเอชของสารละลายเพิ่มขึ้น |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4307 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_023.pdf | 1.56 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น