กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4295
ชื่อเรื่อง: | การปรับปรุงสภาวะในการสร้างสารต้านราก่อโรคพืชของราจากสิ่งแวดล้อมทางทะเล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Optimization of fungi from marine environments for production of anti fungal compounds against fungal phyto-pathogens |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อภิรดี ปิลันธนภาคย์ สุดารัตน์ สวนจิตร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | เชื้อราน้ำเค็ม เชื้อราก่อโรค - - สารยับยั้ง เชื้อรา -- นิเวศวิทยา สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
บทคัดย่อ: | ศึกษาสภาวะเหมาะสมของราจากสิ่งแวดล้อมทางทะเล ในการสร้างสารยับยั้งราก่อโรคพืช 4 ชนิด คือ Colletotrichum gloeosporioides DOAC 0782, Alternaria brassicicola DOAC 0436, Fusarium oxysporum DOAC 1808 และ Pestalotiopsis sp. DOAC 1098 ของราทะเลและราเอนโดไฟท์จากป่าชายเลนจำนวน 5 สายพันธุ์ เริ่มจากการทดสอบยืนยันฤทธิ์ของสารสกัดในการยับยั้งรา ก่อโรคพืชด้วยการเลี้ยงราในสภาวะตั้งต้นในอาหารเหลว PDB บ่มโดยใช้สภาวะตั้งต้นสองสภาวะ คือตั้งทิ้งไว้ และเขย่าด้วยความเร็ว 150 รอบ/นาที ผลการศึกษาด้วยวิธี disc diffusion พบว่าสารสกัดเอธิล อะซิเตตจากน้าเลี้ยงเชื้อราป่าชายเลนทุกสายพันธุ์สามารถยับยั้งราก่อโรคพืชได้ สารสกัดที่ได้จากสภาวะ ที่มีการเขย่าส่วนใหญ่มีฤทธิ์ยับยั้งดีกว่าผลของสารสกัดที่ตั้งทิ้งไว้ ทำการหาสภาวะเหมาะสมของราทะเลและราเอนโดไฟท์ ต่อการผลิตสารยับยั้งราก่อโรคพืช ที่ดีโดยใช้สภาวะตั้งต้นที่เขย่า 150 รอบ/นาที ในอาหารเหลว PDB เป็นหลักและปรับสภาวะทางกายภาพอื่น ๆ ได้แก่ ผลของความเค็ม ตามด้วยชนิดของอาหารเหลว ค่าความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้น ความเร็วในการเขย่า อุณหภูมิ และระยะเวลาในการเลี้ยงตามลาดับ ครั้งละ 1 สภาวะ เลือกสภาวะที่ดีที่สุดไปใช้ในการทดลองขั้นต่อไป พบว่าสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตสารยับยั้งราก่อโรคพืชที่มีประสิทธิภาพของราทะเลคือ ความเค็ม 15-20 ppt อาหาร PDB และ YMB ค่าความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้นเท่ากับ 6 เขย่าที่ 100-150 รอบ/นาที บ่มที่ 25-28 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน และสภาวะเหมาะสมของราเอนโดไฟท์คือ ความเค็ม 0-10 ppt อาหาร PDB YMB และ SDB ค่าความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้นเท่ากับ 5-6 เขย่าที่ 100-150 รอบ/นาที บ่มที่ 28 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4-7 วัน พบฤทธิ์ยับยั้งราก่อโรคพืชสูงสุด จากสารสกัดของราทะเลสายพันธุ์ BUSK 055-1 ฤทธิ์ยับยั้งสูงสุดรองลงมาคือสารสกัดของราเอนโดไฟท์ สายพันธุ์ BUEN 830 แต่สารสกัดราเอนโดไฟท์สายพันธุ์ BUEN 834 มีฤทธิ์ยับยั้งเพิ่มขึ้นสูงสุดคือ 10 เท่า หลังปรับสภาวะเทียบกับการเลี้ยงแบบตั้งทิ้งไว้ ผลผลิตของราทะเลสายพันธุ์ BUSK 055-1 และราเอนโดไฟท์สายพันธุ์ BUEN 830 ที่เลี้ยงในอาหารเหลวปริมาตร 50 มิลลิลิตร และ 200 x 5 มิลลิลิตร ไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบฤทธิ์ยับยั้งราของสารสกัดพบว่าสารสกัดของราทะเลสายพันธุ์ BUSK 055-1 ที่ได้ภายหลังจากการขยายขนาดการหมักมีฤทธิ์ยับยั้งราก่อโรคพืชทุกชนิดยกเว้น Pestalotiosis sp. โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 0.2-0.4 เท่า ค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดต่อการยับยั้งการเจริญของราก่อโรคพืชที่ได้ ภายหลังจากการขยายขนาดการหมักของราทะเลสายพันธุ์ BUSK 055-1 ในการยับยั้ง C. gloeosporioides และ A. brassicicola เท่ากับ 1024 และ 2048 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ส่วนสารสกัดจากรา เอนโดไฟท์ สายพันธุ์ BUEN 830 มีค่า MIC ในการยับยั้งราก่อโรคพืชทุกชนิด ≥ 4096 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร |
รายละเอียด: | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4295 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_016.pdf | 2.51 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น