กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4283
ชื่อเรื่อง: ผลของการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปต่อระดับความมั่นคงของกระดูกสันหลัง : การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of hula hooping exercise on lumbar stability level: a randomized controlled trial
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์
นงนุช ล่วงพ้น
พรลักษณ์ แพเพชร์ เสือโต
ประเสริฐ โศภน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
คำสำคัญ: กระดูกสันหลัง
การรักษาด้วยการออกกำลังกาย
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ที่มาและความสำคัญ: การออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปเป็นการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีความสนุกสนานสามารถเล่นเดี่ยวหรือเล่นเป็นกลุ่มได้ และมีการศึกษาพบว่าสามารถเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อแกนกลางทั้งชั้นลึกและชั้นตื้นและเพิ่มระดับความมั่นคงของกระดูกสันหลังส่วนล่างได้ แต่ยังไม่มีการศึกษาใดทำการศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูป (hula hoop exercise: HE) การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงแก่แกนกลางลำตัว (core stability exercise: SE) ต่อระดับความมั่นคงของกระดูกสันหลังส่วนล่าง (MIST) การทำงานของกล้ามเนื้อ transversus abdominis (TrA) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ในผู้ที่ระดับความมั่นคงของกระดูกสันหลังส่วนล่างระดับต่ำ วิธีการศึกษา: การศึกษานี้ทำการศึกษาทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในอาสาสมัครสุขภาพดีที่ ระดับ MIST 1-2 (จาก 6 ระดับ) จำนวน 45 คน ซึ่งถูกสุ่มเข้าสู่กลุ่ม HE, SE และกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้ออกกำลังกายใด ๆ (กลุ่มละ 15 คน) โดยกลุ่ม HE และกลุ่ม SE ออกกำลังกาย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ อาสาสมัครทุกคนจะได้รับการวัดระดับความมั่นคงของกระดูกหลังส่วนล่างด้วยวิธี modified isometric stability test (MIST) การทำงานกล้ามเนื้อ TrA โดย pressure biofeedback unit ด้วยเทคนิค prone test ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังชั้นตื้นโดย dynamometer ก่อนและหลังออกกำลังกายสัปดาห์ที่ 1, 2, 3 และ 4 ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบความแตกต่างของระดับ MIST ระหว่างก่อนและหลังออกกำลังกายใน กลุ่ม SE (p<0.001) และ HE (p<0.001) และระหว่างกลุ่มในสัปดาห์ที่ 3 (p=0.007) และ 4 (p<0.001) โดยในสัปดาห์ที่ 3 และ 4 กลุ่ม HE และกลุ่ม SE มีระดับ MIST มากกว่าก่อนออกกำลังกาย (p<0.005) และมากกว่ากลุ่มควบคุม (p<0.017) พบผลของระยะเวลาในการฝึก (time) ต่อการทำงานของ TrA (p<0.001) และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง (p<0.001) พบผลกระทบร่วมระหว่างระยะเวลาในการฝึกและกลุ่ม (time x group) ต่อการทำงานของ TrA (p=0.023) แต่ไม่พบผลของกลุ่ม (group) ต่อตัวแปรใด และไม่พบผลของ time และ time x group ต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง (p>0.005) โดยกลุ่ม SE และ HE มีการทำงานของ TrA มากกว่าก่อนออกกำลังกายและมากกว่ากลุ่มควบคุมในสัปดาห์ที่ 4 ขณะที่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังในสัปดาห์ที่ 1, 2, 3 และ 4 ลดลงน้อยกว่าก่อนออกกำลังกาย ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของทุกตัวแปรในกลุ่มควบคุมตลอดการศึกษาและไม่พบความแตกต่างของทุกตัวแปรระหว่างกลุ่ม HE และกลุ่ม SE สรุป: การออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปและหลังออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงแก่แกนกลางลำตัว สามารถเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อ TrA และเพิ่มระดับความมั่นคงของหลังส่วนล่างในผู้ที่ระดับความมั่นคงของหลังส่วนล่างระดับต่ำได้แม้จะไม่สามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังชั้นตื้นก็ตาม
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4283
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_004.pdf1.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น